28 มีนาคม 2568

ถอดรหัสชีวิต: พลิกโฉมอนาคตสุขภาพ
ด้วย AI และจีโนม

Decoding Life: Transforming the Future of Health with AI and Genomics

วิทยากร
  • ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์
  • ดร.วงศกร พูนพิริยะ
  • ดร.ศิษเฎศ ทองสิมา 
  • รองศาสตราจารย์ นพ.ตรงธรรม ทองดี 
  • ศาสตราจารย์ ดร.ภก.ชลภัทร สุขเกษม
  • นพ.จิรภัทร เอี่ยมโสภณ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.พลกฤต ทีฆคีรีกุล
  • ศาสตราจารย์ ดร.นพ.วิปร วิประกษิต
  • ภญ.ดร.อิทธิพร เชื้อไตรสรณ์
  • ดร.สุรพันธ์ เมฆนาวิน
  • ดร.ชุมพล งามผิว
ข้อมูลจีโนม (Genomic Data)

เป็นกุญแจสำคัญในการวางแผนอนาคตให้กับสุขภาพ ผ่านแนวคิด “สุขภาพเฉพาะบุคคล (Precision Health)”  ซึ่งเป็นแนวทางการส่งเสริมสุขภาพที่ใช้ข้อมูลในหลายมิติมาวิเคราะห์ร่วมกัน อาทิ ข้อมูลจีโนม ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม โดยแนวคิดดังกล่าวไม่ได้จำกัดเพียงการใช้สำหรับวินิจฉัยหรือรักษาโรค ยังรวมถึงการพยากรณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงแนวทางการป้องกันและการส่งเสริมสุขภาพในระยะยาว โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น AI และจีโนมิกส์ มาประยุกต์ใช้ร่วมกับความสามารถและความเชี่ยวชาญของบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อสร้างแผนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพและแม่นยำมากยิ่งขึ้น

การใช้เทคโนโลยี AI ร่วมกับการแพทย์จีโนมิกส์ (Genomics Medicine)

เป็นการบูรณาการเทคโนโลยีขั้นสูง โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางพันธุกรรมร่วมกับความสามารถของ AI ในการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ที่มีความซับซ้อนหลากหลายได้อย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างระบบการดูแลสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับแต่ละบุคคล ช่วยให้การรักษามีความแม่นยำและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการติดตามข้อมูลสุขภาพในระยะยาวและการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพเชิงลึก เพื่อการวางแผนการรักษาการป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพตลอดช่วงชีวิต ภายในงานสัมมนาท่านจะได้รับทราบเทรนด์การนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพและการแพทย์แม่นยำในมิติต่างๆ การบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและชีวสารสนเทศภายใต้โครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนมุมมองกับเสวนาในหัวข้อ “ธุรกิจบริการการแพทย์จีโนมิกส์และการบูรณาการเทคโนโลยี AI เพื่อยกระดับการให้บริการ” โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชนผู้ให้บริการด้านจีโนมิกส์ ทีมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการแพทย์แม่นยำ สวทช. และผู้แทนภาครัฐ ที่มีบทบาทในการส่งเสริมการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลในประเทศไทย มาร่วมค้นหาคำตอบว่าข้อมูลจีโนมจะมาช่วยในการดูแลสุขภาพและทำให้เรามีอายุยืนยาวได้อย่างไร? และ AI คืออนาคตของการดูแลสุขภาพจริงหรือไม่? เปิดมุมมองทางด้านการแพทย์และการดูแลสุขภาพในยุคปัญญาประดิษฐ์ไปพร้อมกัน

กำหนดการ
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 09.10 น. กล่าวเปิดสัมมนา

โดย ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์

รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ดำเนินรายการสัมมนา

โดย ดร.วงศกร พูนพิริยะ 

ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารเครือข่ายวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

09.10 – 09.40 น. AI in Clinical and Genomic Diagnostics: AI เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ 

โดย ดร.ศิษเฎศ ทองสิมา 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 

09.40 – 10.10 น. AI and Cancer: นวัตกรรม AI กับมะเร็ง

โดย รองศาสตราจารย์ นพ.ตรงธรรม ทองดี 

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

10.10 – 10.40 น. AI and Pharmacogenomics (PGx): AI กับการเลือกใช้ยา

โดย ศาสตราจารย์ ดร.ภก.ชลภัทร สุขเกษม    

คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

10.40 – 10.50 น. พักเบรก
10.50 – 12.00 น. เสวนาในหัวข้อ “ธุรกิจบริการการแพทย์จีโนมิกส์และการบูรณาการเทคโนโลยี AI เพื่อยกระดับการให้บริการ”

ดำเนินรายการช่วงเสวนา 

โดย นพ.จิรภัทร เอี่ยมโสภณ  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 

ผู้ร่วมเสวนา 

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.พลกฤต ทีฆคีรีกุล  โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 
  2. ศาสตราจารย์ ดร.นพ.วิปร  วิประกษิต  บริษัท แอท-ยีนส์ จำกัด
  3. ภญ.ดร.อิทธิพร เชื้อไตรสรณ์ บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ จำกัด
  4. ดร.สุรพันธ์ เมฆนาวิน  ประธานคณะอนุกรรมการกำกับด้านยุทธศาสตร์ และแผนส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล  (DEPA)
  5. ดร.ชุมพล งามผิว  ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
เกี่ยวกับวิทยากร
ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์
รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ดร.วงศกร พูนพิริยะ
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารเครือข่ายวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ดร.ศิษเฎศ ทองสิมา 
ผู้อำนวยการ ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
รองศาสตราจารย์ นพ.ตรงธรรม ทองดี 
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ศาสตราจารย์ ดร.ภก.ชลภัทร สุขเกษม
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
นพ.จิรภัทร เอี่ยมโสภณ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.พลกฤต ทีฆคีรีกุล
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ศาสตราจารย์ ดร.นพ.วิปร  วิประกษิต
บริษัท แอท-ยีนส์ จำกัด
ภญ.ดร.อิทธิพร เชื้อไตรสรณ์
บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ จำกัด
ดร.สุรพันธ์ เมฆนาวิน
ประธานคณะอนุกรรมการกำกับด้านยุทธศาสตร์ และแผนส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA)
ดร.ชุมพล งามผิว
ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
หัวข้อสัมมนาอื่น ๆ