27 มีนาคม 2568

ทางรอดประเทศไทยกับการใช้นวัตกรรม AI เพื่อรับมือมาตรการ EUDR

วิทยากร
  • คุณพจมาน วงษ์สง่า
  • ดร.นันทประภา นันทิยะกุล
  • ดร.รวีวรรณ ภูริเดช
  • คุณกฤษณา แก้วด้วง
  • คุณอธิวีณ์ แดงกนิษฐ์
  • คุณจุฑารัตน์ คีรีเพ็ชร
  • คุณธนารักษ์ พงษ์เภตรา
  • ดร.อดิศร พร้อมเทพ

ปัจจุบัน กฎระเบียบ EUDR (EU Deforestation Regulation) ของสหภาพยุโรป ครอบคลุม 7 กลุ่มสินค้า ได้แก่ โกโก้ กาแฟ ถั่วเหลือง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน โค และไม้ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปของสินค้าเหล่านี้ เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้ กระดาษ และยางรถยนต์ เป็นต้น มาตรการนี้กำหนดให้สินค้านำเข้าต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ว่าไม่เกี่ยวข้องกับการทำลายป่า หรือกระทบต่อระบบนิเวศที่สำคัญ ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยโดยตรง ซึ่งเป็นความท้าทายสำคัญต่อภาคเกษตรและอุตสาหกรรมไทย 

ปัญหานี้จะกลายเป็นโอกาส หากเราใช้นวัตกรรม AI อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมาตรการ EUDR กำหนดให้สินค้าทางการเกษตรต้องมีข้อมูลระบุพิกัดที่มาของผลผลิต (Geolocation) อย่างละเอียด ต้องมีระบบตรวจสอบย้อนกลับที่โปร่งใสและแม่นยำ ซึ่งเป็นความท้าทายสำหรับเกษตรกรและผู้ประกอบการ โดยเฉพาะรายย่อยที่อาจยังขาดเทคโนโลยีและระบบจัดการข้อมูลที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

การประชุมครั้งนี้ เป็นการนำเสนอข้อมูลความก้าวหน้าและการดำเนินงานของภาครัฐ และแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อเรียนรู้แนวทางปรับตัวและสร้างโอกาสให้กับธุรกิจไทย พร้อมรับมือกฎระเบียบใหม่ของตลาดโลก

กำหนดการ
12.30 -13.00 น. ลงทะเบียน
13.00-13.15 น. กล่าวเปิดงาน
13.15 -13.30 น.
ช่วงที่ 1 EUDR คืออะไร

ความเป็นมาและกิจกรรม EUDR Engagement Project

 โดย คุณพจมาน วงษ์สง่า
ผู้แทน EUDR Engagement Project, GIZ Thailand

13.30 -14.30 น.
ช่วงที่ 2 การรับมือของไทยสำหรับกฎระเบียบ EUDR

กรอบนโยบายและมาตรการรับมือกฎระเบียบ EUDR ในภาครัฐ

โดย ดร.นันทประภา นันทิยะกุล
ผู้แทน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)

การบริหารจัดการที่ดิน คทช. เพื่อรองรับกฎระเบียบ EUDR

โดย ดร.รวีวรรณ ภูริเดช
ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.)

การบูรณาการงานภาครัฐเพื่อเตรียมความพร้อมรับ EUDR ผ่านกลไก Government Lab

โดย คุณกฤษณา แก้วด้วง
ผู้แทน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.)

ตัวอย่างการรับมือกฎระเบียบ EUDR จากอุตสาหกรรมยางพารา

โดย คุณอธิวีณ์ แดงกนิษฐ์
ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการ ผู้แทน การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)

14.30 -15.15 น.
ช่วงที่ 3

ทางรอดของภาคธุรกิจเกษตรกับการใช้นวัตกรรม AI เพื่อรับมือกฎระเบียบ EUDR นวัตกรรม AI ช่วยการจัดการที่ดินของประเทศ เพื่อลดผลกระทบจากฎระเบียบ EUDR ได้อย่างไร

14.30-14.55 น. นวัตกรรม AI ช่วยการจัดการที่ดินของประเทศ เพื่อลดผลกระทบจากฎระเบียบ EUDR ได้อย่างไร

โดย คุณจุฑารัตน์ คีรีเพ็ชร
หัวหน้าทีมวิจัยคลังอนุพันธ์ความรู้ กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) 

14.45 -15.00 น ความคาดหวังภาคอุตสาหกรรมไทยกับนวัตกรรม AI เพื่อรับมือกฎระเบียบ EUDR

โดย  คุณธนารักษ์ พงษ์เภตรา
รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

 

15.00 -15.15 น ทุนสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรม แผนมุ่งเป้าการส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรให้สินค้าเกษตรของไทยสามารถส่งออกไปยังยุโรปได้ โดยไม่มีปัญหากับข้อกำหนด EUDR (EU Deforestation Regulation)

ดร.อดิศร พร้อมเทพ
ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

 

15.15 -16.00 น เปิดประเด็นให้ซักถามจากผู้เข้าร่วมงาน
ประเมินการจัดงาน
ปิดงาน
เอกสารประกอบการสัมมนา
เกี่ยวกับวิทยากร
คุณพจมาน วงษ์สง่า
ผู้แทน EUDR Engagement Project, GIZ Thailand
ดร.นันทประภา นันทิยะกุล
ผู้แทน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)
ดร.รวีวรรณ ภูริเดช
ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.)
คุณกฤษณา แก้วด้วง
ผู้แทน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.)
คุณอธิวีณ์ แดงกนิษฐ์
ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการ ผู้แทน การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)
คุณจุฑารัตน์ คีรีเพ็ชร 
หัวหน้าทีมวิจัยคลังอนุพันธ์ความรู้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
คุณธนารักษ์ พงษ์เภตรา
รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ดร.อดิศร พร้อมเทพ
ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)
หัวข้อสัมมนาอื่น ๆ