27 มีนาคม 2568

รู้ใจ ไม่รู้ไต ร่วมชะลอภัยโรคไต ด้วยสิทธิประโยชน์ใหม่สู่สังคม

วิทยากร
  • ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย
  • ศ.ดร.ศิวพร มีจู สมิธ
  • ดร.กมล ศรีล้อม
  • พญ.วรุณยุพา พรพลทอง
  • คุณธนพลธ์ ดอกแก้ว
  • ภก.ธนพัฒน์ เลาวหุตานนท์
  • ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง
  • ดร.หฤษฎ์ พิทักษ์จักรพิภพ
  • ดร.สุพักตร์ โยไธสง

สำหรับประเทศไทยสถานการณ์ของโรคไตเรื้อรังในประชากรไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับเป็นปัญหาสาธารณสุขและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (HDC) ในปี 2566 พบผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 1,062,756 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 มากถึง 85,064 คน จำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 3 จำนวน 464,420 ราย ระยะ 4 จำนวน 122,363 ราย และระยะที่ 5 ที่ต้องล้างไตมากถึง 70,474 ราย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพื่อป้องกันหรือชะลอไม่ให้เกิดโรคไตวายระยะสุดท้าย ด้วยการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น หรือน้อยกว่าระยะที่ 4 เพื่อชะลอความเสื่อมของไตให้ได้ผลดี และลดภาวะแทรกซ้อน โดยแนวทางการการชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมิให้กลายเป็นไตวายเรื้อรังเร็วเกินควร คือ การสร้างความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับโรคไต เน้นการจัดการความเสี่ยงของการเกิดโรคไตในชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถดูแลป้องกันตนเองและสมาชิกในครอบครัวไม่ให้ป่วยเป็นโรคไต และให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่มีคุณภาพ รวมทั้งพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์การคัดกรองความเสี่ยงโรคไต ควบคู่กับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันโรคไต และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วย จึงจำเป็นที่จะต้องมียุทธวิธีในการตรวจคัดกรองโรคไตในระยะเริ่มต้นซึ่งจะนำไปสู่การวินิจฉัย และการรักษาอย่างทันท่วงที และถือเป็นแนวทางลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ รวมทั้งชะลอการสูญเสียให้กับผู้ป่วยและครอบครัว ทั้งนี้เมื่อ 8 มกราคม พ.ศ. 2568 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เห็นชอบ “ข้อเสนองบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2569” ตามมติคณะอนุกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ และเพิ่มสิทธิประโยชน์ใหม่ให้กับคนไทย จำนวน 10 รายการ โดยหนึ่งในสิทธิประโยชน์ใหม่ ได้แก่ ชุดตรวจในปัสสาวะเพื่อตรวจคัดกรองติดตามโรคไตเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน จำนวน 440 ล้านบาท นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญต่อการรักษาผู้ป่วยโรคไต โดยวางกรอบงบประมาณให้การบริการผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังสูงเป็นลำดับต้นๆ แสดงให้เห็นถึงมุ่งเน้นป้องกันและแก้ปัญหาโรคไตอย่างจริงจังของหน่วยงานภาครัฐในระบบสาธารสุข 

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในอีกมิติ จะเห็นได้ว่า ปัญหาโรคไตเรื้อรังนั้น เป็นปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจระดับมหภาคของประเทศ ซึ่งยากที่จะรับมือแก้ปัญหาโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ซึ่งโรคไตเรื้อรังนั้นมีปัจจัยหลักๆ ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านบุคคล 2) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และ 3) ปัจจัยด้านระบบบริการ ทั้งนี้ ซึ่งปัจจัยสำคัญ คือ ปัจจัยด้านบุคคล เช่น อายุ เพศ กรรมพันธุ์ พฤติกรรมสุขภาพ ความอ้วน โรค และการเจ็บป่วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การผนึกกำลังป้องกันและชะลอโรคไตในหน่วยบริการด้านสุขภาพและการแพทย์ในระดับพื้นฐาน ได้แก่ ระดับชุมชน เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จะเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคที่มีปัจจัยหลักๆ เกี่ยวเนื่องกับการดูแลรักษาสุขภาพในระดับปฐมภูมิ ที่สำคัญไปกว่านั้น การบูรณาการความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ในระดับพื้นที่ ตลอดจนหน่วยงานวิจัยและหน่วยงานให้ทุนในระบบ ววน. ของไทย ให้เกิดพลังภาคีเครือข่ายการวิจัยพัฒนาและใช้ประโยชน์นวัตกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคไตเรื้อรังและชะลอไตเสื่อมในชุมชน จะเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันชะลอและรักษาโรคไตอย่างยั่งยืนให้กับประเทศ

กำหนดการสัมมนา
13.00 – 13.30 น. ลงทะเบียน 
13.30 – 13.40 น. กล่าวเปิดสัมมนา

โดย ดร. อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย
ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

13.40 – 13.50 น. ขอบคุณวิทยากร และมอบของที่ระลึก 

โดย ศ.ดร.ศิวพร มีจู สมิธ
รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

13.50 – 14.10 น. โรคไต เรื่องใกล้ตัว และระบาดวิทยาที่น่าใจหาย 

โดย ดร.กมล ศรีล้อม
รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 

14.10 – 14.30 น.

การแก้ปัญหาด้านสุขภาพเชิงพื้นที่ผ่านนโยาบยและกลไกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น : นโยบาย 9 ดี พลัส และขอนแก่นโมเดล

โดย พญ.วรุณยุพา พรพลทอง
องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น

14.30 – 14.50 น.

ถอดประสบการณ์ประชาชนสู้ศึกโรคไตเรื้อรัง และการดำเนินงานป้องกัน โดยเครือข่ายภาคประชาชน

โดย คุณธนพลธ์ ดอกแก้ว
นายกสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย

14.50 – 15.30 น. เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : สิทธิประโยชน์ใหม่ ตรวจไต ไม่ไกลตัว 

ผู้ร่วมเสวนา  โดย  

  1. ดร.กมล ศรีล้อม
    รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  2. พญ.วรุณยุพา พรพลทอง
    ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
  3. คุณธนพลธ์ ดอกแก้ว
    นากยกสมาคมเพื่อนโรคไต
  4. ภก.ธนพัฒน์ เลาวหุตานนท์
    ผู้ชำนาญการ งานบริหารโครงการโปรแกรมบริหารและพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์และหุ่นยนต์ทางการแพทย์ขั้นสูง, TCELS
  5. ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง
    Driver แผนงานนวัตกรรมชุดตรวจแบบรวดเร็ว สวทช. และแผนงาน Heathy Kit นาโนเทค สวทช.

ดำเนินกิจกรรมเสวนาโดย ดร.หฤษฎ์ พิทักษ์จักรพิภพ, Core team แผนงานนวัตกรรมชุดตรวจแบบรวดเร็ว สวทช. และแผนงาน Heathy Kit, NANOTEC-สวทช.

หมายเหตุ : กำหนดการรวม ถาม – ตอบ จากผู้เข้าร่วมงานทุกท่าน

  ผู้ดำเนินรายการ ดร. สุพักตร์ โยไธสง, Core team แผนงานนวัตกรรมชุดตรวจแบบรวดเร็ว สวทช. และแผนงาน Heathy Kit, NANOTEC-สวทช.

เกี่ยวกับวิทยากร

                             

ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย
ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ศ.ดร.ศิวพร มีจู สมิธ
รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ดร.กมล ศรีล้อม
รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
พญ.วรุณยุพา พรพลทอง
ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
คุณธนพลธ์ ดอกแก้ว
นายกสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย
ภก.ธนพัฒน์ เลาวหุตานนท์
ผู้ชำนาญการ งานบริหารโครงการโปรแกรมบริหารและพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์และหุ่นยนต์ทางการแพทย์ขั้นสูง, TCELS
ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง
Driver แผนงานนวัตกรรมชุดตรวจแบบรวดเร็ว สวทช. และ แผนงาน Heathy Kit นาโนเทค สวทช.
ดร.หฤษฎ์ พิทักษ์จักรพิภพ
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.
ดร.สุพักตร์ โยไธสง
Core team แผนงานนวัตกรรมชุดตรวจแบบรวดเร็ว สวทช. และแผนงาน Heathy Kit นาโนเทค สวทช.
หัวข้อสัมมนาอื่น ๆ