26 มี.ค. 2568

AI ในอุตสาหกรรมความงาม: เทรนด์และนวัตกรรมที่น่าจับตามอง

วิทยากร
  • คุณบุญสิทธิ์ สยามเนตร
  • ดร.ทนพ.นราวุฒิ สุวรรณัง
  • ดร.สรรพฤทธิ์ มฤคทัต
  • ดร.ธงชัย กูบโคกกรวด
  • คุณขนิษฐา ตันติศิรินทร์
  • คุณนาคาญ์ ทวิชาวัฒน์
  • ดร.ธวิน เอี่ยมปรีดี

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1950 โดยมีจุดเริ่มต้นจากงานวิจัยด้าน Machine Learning และ Neural Networks จนถึงปัจจุบันที่ AI สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมากและเรียนรู้จากพฤติกรรมของมนุษย์ได้อย่างแม่นยำ ในอุตสาหกรรมความงาม AI ถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ สภาพผิว, โครงสร้างเส้นผม, ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค และแนวโน้มตลาด ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการที่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของแต่ละบุคคล เทคโนโลยีหลักที่ผลักดันการพัฒนา AI ในอุตสาหกรรมความงาม เช่น Computer Vision: วิเคราะห์ภาพถ่ายใบหน้าและโครงสร้างผิว,  Deep Learning: ใช้โมเดล AI เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมและความต้องการของลูกค้า , Natural Language Processing (NLP): ทำให้ AI สามารถให้คำแนะนำผ่าน Chatbot หรือผู้ช่วยเสมือน, Big Data & Predictive Analytics: วิเคราะห์ข้อมูลผู้บริโภคเพื่อพัฒนาเทรนด์และนวัตกรรมใหม่

และมีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค การพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมเฉพาะบุคคล (Personalized Beauty) และการสร้างประสบการณ์แบบดิจิทัลที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องการมากขึ้น จากรายงานของ Research and Markets (2023) ตลาด AI ในอุตสาหกรรมความงามทั่วโลกคาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 20.6% ต่อปี ภายในปี 2030 โดยมีปัจจัยสำคัญ เช่น เทรนด์ผลิตภัณฑ์เฉพาะบุคคล (Personalized Beauty) ที่ใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลผิวพรรณและไลฟ์สไตล์ของลูกค้า, เครื่องสำอางและสกินแคร์อัจฉริยะ (Smart Beauty Tech) ที่พัฒนาโดยใช้ Machine Learning, การตลาดที่ขับเคลื่อนด้วย AI (AI-Driven Marketing) ที่ช่วยให้แบรนด์สามารถสร้างประสบการณ์แบบเฉพาะตัวให้ลูกค้า

วัตถุประสงค์ของสัมมนา:
  • นำเสนอแนวโน้มล่าสุดของ AI ในอุตสาหกรรมความงาม
  • เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ นักวิจัย และผู้สนใจได้เรียนรู้การนำ AI มาประยุกต์ใช้
  • สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโอกาสทางธุรกิจและความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับ AI และความงาม
กำหนดการ
8.30 น.– 9.00 น. ลงทะเบียน
9.00 น. – 9.30 น. AI ในตลาดความงามและเครื่องสำอางแห่งอนาคต

โดย คุณบุญสิทธิ์ สยามเนตร
Head of Data & Analytics ลอริอัล ประเทศไทย

9.30 น. – 10.00 น. The Convergence of Epigenetic Clocks, AI, and Beauty: A New Era in Personalized Skincare

โดย ดร.ทนพ.นราวุฒิ สุวรรณัง
อาจารย์ประจำ คณะสหเวชศาสตร์  สาขาเทคนิคการแพทย์ วิทยาลัยนครราชสีมา
และ ผู้บริหาร บริษัท The Keeper Limited

10.00 . – 10.30 .

AI-based selection of active Phyto-Ingredients

โดย ดร.สรรพฤทธิ์ มฤคทัต
หัวหน้าทีมวิจัยการประมวลผลและเข้าใจภาพ
กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

10.30 น. – 10.45 น. Coffee Break & Networking
10.45 น. – 11.45 น. เสวนา “AI Personalized Beauty” โดย

  • ดร.ธงชัย กูบโคกกรวด
    หัวหน้าทีมวิจัย ทีมวิจัยนาโนเวชสำอาง กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโนและระบบนำส่งทางชีวภาพ
    ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ(NANOTEC)  ผู้เชี่ยวชาญด้านนาโนเวชสำอาง 

ประเด็นเสวนา :  มุมมองในการพัฒนาสูตรตำรับ และความเป็นไปได้ในการพัฒนาฐานข้อมูลการพัฒนาเครื่องสำอางเฉพาะบุคคลเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพผิวคนไทย และ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  • คุณขนิษฐา ตันติศิรินทร์
    ผู้อำนวยการ กองควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง

ประเด็นเสวนา : ความคิดเห็นในการขึ้นทะเบียน ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเฉพาะบุคคล รวมทั้งมุมมองของ อย. ต่อเทคโนโลยี AI ในวงการเครื่องสำอางและความงาม

  • คุณนาคาญ์ ทวิชาวัฒน์
    ประธานคลัสเตอร์สุขภาพและความงาม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ประเด็นเสวนา : มุมมองของผู้ประกอบการ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความเป็นไปได้ในการพัฒนาผลิตภัณฑเพื่อความงามเฉพาะบุคคลในประเทศไทย และแนวโน้มการใช้ AI ในอุตสาหกรรม

  • ดร.ทนพ.นราวุฒิ สุวรรณัง
    อาจารย์ประจำ คณะสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ วิทยาลัยนครราชสีมา และ ผู้บริหาร บริษัท The Keeper Limited

ประเด็นเสวนา : Startup Ai ด้านสุขภาพ ผู้แทนมุมมองด้าน Business ในการใช้ Platform AI เพื่อใช้ในการพัฒนาด้านสุขภาพและการรักษาโรค Thalassemia


ผู้ดำเนินรายการ 

ดร.ธวิน เอี่ยมปรีดี
Driver of Battle Herbal Extract, NSTDA

เกี่ยวกับวิทยากร
ดร.ธงชัย กูบโคกกรวด
หัวหน้าทีมวิจัย ทีมวิจัยนาโนเวชสำอาง กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโนและระบบนำส่งทางชีวภาพ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)
ดร.สรรพฤทธิ์ มฤคทัต
หัวหน้าทีมวิจัยการประมวลผลและเข้าใจภาพ กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
คุณขนิษฐา ตันติศิรินทร์
ผู้อำนวยการ กองควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง
คุณบุญสิทธิ์ สยามเนตร
Head of Data & Analytics ลอริอัล ประเทศไทย
ดร.ทนพ.นราวุฒิ สุวรรณัง
อาจารย์ประจำ คณะสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ วิทยาลัยนครราชสีมา และผู้บริหาร บริษัท The Keeper Limited
คุณนาคาญ์ ทวิชาวัฒน์
ประธานคลัสเตอร์สุขภาพและความงาม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ดร.ธวิน เอี่ยมปรีดี   
Driver of Battle Herbal Extract, สวทช.
หัวข้อสัมมนาอื่น ๆ