นักวิจัย
ดร.มัตถกา คงขาว
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การแข่งขันทางตลาดของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวประเภทเซรั่มในปัจจุบันนั้นมีการแข่งขันเชิงตลาดในระดับที่ค่อนข้างสูง โดยในปัจจุบันนั้นประเทศไทยได้มีการสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรไทยกันอย่างแพร่หลายในหลากหลายรูปแบบเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่น่าใช้ต่อผู้บริโภค ทั้งลักษณะเนื้อสัมผัส สี กลิ่น เป็นต้น ซึ่งการออกแบบเซรั่มนี้จะออกแบบมาเฉพาะเพื่อให้สามารถรองรับอนุภาคกักเก็บสารสำคัญที่อยู่ในรูปแบบอนุภาคกักเก็บชนิดทรานซ์เอทโธโซม ลิโปนิโอโซม หรือส่วนผสมของทั้ง 2 ชนิด โดยในปัจจุบันประเทศไทยมีการปลูกกระชายดำเป็นจำนวนมาก จากการศึกวิจัยพบว่า สารออกฤทธิ์สำคัญในกลุ่มสารประกอบฟลาโวน ที่มีฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอวัยแก่ผิว ดังนั้นในสูตรตำรับนี้จึงมุ่งเน้นที่จะนำสารสำคัญจากกระชายดำมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในผลิตภัณฑ์เซรั่มชะลอวัย
คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี
สูตรตำรับเซรั่มบำรุงผิวหน้าเบสอิมัลชั่นที่มีความจำเพาะเจาะจงและสามารถห่อหุ้มกักเก็บสารออกฤทธิ์ที่เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ หรืออนุภาคกักเก็บสารสกัดจากธรรมชาติได้เป็นอย่างดี ไม่กระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยรวม มีความคงตัวที่ดีของผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังสามารถกักเก็บสารออกฤทธิ์เสริมอื่นๆได้ และสามารถซึมสู่ผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปปรับใช้ในการผลิตจริงในระดับอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องสำอาง
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
- อนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2003001507 เรื่อง องค์ประกอบการเตรียมอนุภาคทรานสเอทโทโซม (transethosome) กักเก็บกระชายดำที่มีความคงตัวและมีความยืดหยุ่นสูง วันที่ยื่นคำขอ 2 กรกฎาคม 2563 (อนุสิทธิบัตรเลขที่ 24288 ออกวันที่ 16 สิงหาคม 2567)
- อนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2103002648 เรื่อง ผลิตภัณฑ์เซรั่มชะลอวัยที่ผสมอนุภาคกักเก็บสารสำคัญจากกระชายดำ วันที่ยื่นคำขอ 15 กันยายน 2564
สถานภาพของผลงานวิจัย
- ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
ความร่วมมือที่เสาะหา
- เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ