นิทรรศการ

NSTDA ANNUAL CONFERENCE 2025

องค์ประกอบของอนุภาคนีโอโซม (niosome) กักเก็บสารสกัดกวาวเครือ เพื่อเพิ่มความสามารถในการกักเก็บและนำส่ง 

ติดต่อสอบถาม
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.
นักวิจัย
ดร.สุวิมล สุรัสโม 

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา 

ในปัจจุบันนี้ การนำสารสกัดจากสมุนไพรหรือสารจากธรรมชาติมาใช้ทดแทนสารสังเคราะห์กำลังเป็นที่นิยมอยู่มาก ทั้งในแง่การนำมาใช้ในด้านการป้องกันและรักษาโรค นำมาเป็นยา อาหาร หรือเครื่องสำอาง เนื่องจากคนเริ่มให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยมากขึ้น และสารจากธรรมชาติเองค่อนข้างปลอดภัย มีผลข้างเคียงน้อย กวาวเครือเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรไทยที่เป็นที่รู้จักและมีการนำมาใช้ในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม การนำเอาสารสกัดสมุนไพรหรือสารจากธรรมชาติมาใช้นั้น ยังมีข้อจำกัดในหลาย ๆ ด้าน เช่น คุณสมบัติการละลาย ความคงตัวของสารสกัด ผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เนื่องจากการออกฤทธิ์มาจากสารผสมหลายชนิดในสมุนไพรนั้นๆ ในปัจจุบันเทคโนโลยีการห่อหุ้มนาโน (nanocarrier technology) ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการนำส่งสารสกัดดังกล่าวให้ไปถึงเป้าหมายที่ต้องการให้สารสกัดออกฤทธิ์ได้มากขึ้น เพื่อลดอาการไม่พึงประสงค์ อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการเสื่อมสลายของสารสกัดจากสภาวะแวดล้อม เช่น pH อุณหภูมิ หรือการถูกทำลายจากร่างกายเองด้วย 

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี 
  • ผลงานวิจัยอนุภาคนาโนกักเก็บสารสกัดกวาวเครือ มีประสิทธิภาพในการเพิ่มความสามารถในการกักเก็บและนำส่ง ที่เป็นโครงสร้างแบบสองชั้น (bilayers) ที่สามารถเกิดอนุภาคได้ด้วยตัวเอง (self-assembly) คือ อนุภาคในรูปแบบนีโอโซม (niosome) และ ลิโปนีโอโซม (liponiosome)
  • สามารถนำส่งสารสกัดกวาวเครือได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการเสื่อมสภาพของสารสกัด 
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา 
  • อนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2003001079 วันที่ยื่นคำขอ 22 พฤษภาคม 2563 เรื่อง องค์ประกอบของอนุภาคนีโอโซม (niosome) กักเก็บสารสกัดกวาวเครือ เพื่อเพิ่มความสามารถในการกักเก็บและนำส่ง 
สถานภาพของผลงานวิจัย  
  • ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ 
ความร่วมมือที่เสาะหา 
  • เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ