นิทรรศการ

NSTDA ANNUAL CONFERENCE 2025

ชุดตรวจโรคกุ้งด้วยเทคนิคแลมป์ 

ติดต่อสอบถาม
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) 
นักวิจัย
นางวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย 

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา 

ปัจจุบันการตรวจโรคกุ้งใช้เวลานาน มีขั้นตอนในการตรวจซับซ้อน ค่าใช้จ่ายสูง เครื่องมือราคาแพง และต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ ทีมวิจัยจึงได้พัฒนาชุดตรวจที่มีการใช้งานง่าย มีความแม่นยำเทียบเท่า PCR แต่รวดเร็วกว่า และราคาต้นทุนต่ำกว่า รวมทั้งผู้ประกอบการสามารถตรวจโรคได้ด้วยตนเอง ซึ่งวิธีการหรือเทคนิคนี้เรียกว่า “แลมป์” (LAMP) มีวิธีการใช้งานและขั้นตอนตรวจสอบผลการติดเชื้อโรคกุ้งที่ง่ายแบบขั้นตอนเดียว 2 แบบ แบบแรกคือ Real-AMP คือการออกแบบเทคนิคแลมป์ให้ใช้ควบคู่กับเครื่องวัดความขุ่นแบบเรียลไทม์ ที่ทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องควบคุมอุณหภูมิเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาแลมป์และเครื่องตรวจวัดความขุ่นที่เกิดจากปฏิกิริยาแลมป์โดยการแสดงผลด้วยเส้นกราฟที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ตที่เชื่อมต่อกับเครื่องวัดความขุ่น แบบที่ 2 คือ XO-AMP เป็นการออกแบบเทคนิคแลมป์ร่วมกับการอ่านผลด้วยสี Xylenol orange ที่เปลี่ยนไป หากมีการติดเชื้อก่อโรคกุ้งในหลอดทดสอบ สีของปฏิกิริยาแลมป์จะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลืองภายในเวลา 60 นาที แต่ถ้ากุ้งไม่มีการติดเชื้อ สีของปฏิกิริยาแลมป์จะยังคงเป็นสีม่วง

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี 
  • มีความไว ความจำเพาะ และความแม่นยำ เทียบเท่ากับเทคนิค PCR 
  • มีขั้นตอนที่ง่าย รวดเร็ว ไม่ซับซ้อน ผู้ประกอบการสามารถตรวจได้เองในพื้นที่ 
  • น้ำยาแลมป์ อุปกรณ์และเครื่องมือ มีราคาถูก ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งเข้าถึงได้ 
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา 
  • คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่ 2303001829 วันที่ยื่นคำขอ 6 กรกฎาคม 2566 
  • คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่ 2303001831 วันที่ยื่นคำขอ 6 กรกฎาคม 2566 
  • คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่ 2303001855 วันที่ยื่นคำขอ 6 กรกฎาคม 2566 
  • คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่ 2303003654 วันที่ยื่นคำขอ 15 ธันวาคม 2566  
  • คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่ 2403000066 วันที่ยื่นคำขอ 11 มกราคม 2567 
สถานภาพของผลงานวิจัย 
  • ต้นแบบระดับ pilot scale 
ความร่วมมือที่เสาะหา 
  • เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ/ ผู้ต้องการนำไปใช้งานตรวจโรคกุ้ง  

รูปแสดงชุดตรวจโรคกุ้งแบบ real-amp ประกอบด้วยชุดน้ำยาแลมป์ น้ำยาสกัด และเครื่องวัดความขุ่นแบบเรียลไทม์ 

รูปแสดงชุดตรวจโรคกุ้งแบบ XO-Amp ประกอบด้วยน้ำยาแลมป์ที่มีลักษณะสีม่วงของ xylenol orange และน้ำยาสกัด

รูปแสดงขั้นตอนการตรวจโรคกุ้งด้วยเทคนิคแลมป์ 2 แบบ ได้แก่แบบ Real-AMP และ XO-AMP