Gunther-Janine อุปกรณ์และแอปพลิเคชันแจ้งเตือนท่าทางและการพลัดตกหกล้ม
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและกิจวัตรประจําวันของผู้สูงอายุ เพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ สาเหตุสําคัญมาจากพฤติกรรมท่าทางที่ไม่เหมาะสมในชีวิตประจําวัน อาทิ การนั่งหลังค่อม การลุกนั่งผิดวิธี การก้มยกของซํ้า ๆ และการบิดเอี้ยวตัวขณะยกของหนัก การพลัดตกหกล้มเป็นปัญหาสําคัญที่พบบ่อยในผู้สูงวัย ซึ่งอาจนําไปสู่ผลกระทบร้ายแรง ทั้งการบาดเจ็บสาหัส การสูญเสียความสามารถในการทํากิจวัตรประจําวัน หรือในกรณีรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิต ด้วยเหตุนี้ คณะผู้วิจัยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. จึงได้พัฒนาอุปกรณ์และแอปพลิเคชันแจ้งเตือนท่าทางและการพลัดตกหกล้มที่มีความแม่นยําและใช้งานง่าย เพื่อช่วยลดอัตราการบาดเจ็บและอุบัติเหตุในกลุ่มผู้สูงอายุ
การใช้ประโยชน์
อุปกรณ์และแอปพลิเคชันได้รับการออกแบบมาเฉพาะสําหรับผู้สูงอายุและผู้ดูแล โดยมีฟีเจอร์ที่ช่วยแจ้งเตือนทันทีเมื่อตรวจพบท่าทางหรือการเคลื่อนไหวที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ ทําให้ผู้ใช้สามารถปรับท่าทางให้ถูกต้องและปลอดภัย ระบบยังมี ฟังก์ชันประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มที่อ้างอิงตามมาตรฐานทางคลินิก ซึ่งผู้ใช้สามารถทําการประเมินได้ด้วยตนเองในชีวิตประจําวัน และในกรณีที่เกิดการพลัดตกหกล้ม ระบบจะแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแลเพื่อให้สามารถเข้าช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที

จุดเด่น
จุดเซนเซอร์ Gunther IMU
- ออกแบบให้มีขนาดกะทัดรัดและนํ้าหนักเบา เหมาะสําหรับการใช้งานประจําวัน
- สามารถสวมใส่ได้สะดวกตลอดวันและติดตั้งร่วมกับเสื้อผ้าได้
- มีระบบแจ้งเตือนด้วยการสั่นแบบนุ่มนวลเมื่อตรวจพบท่าทางเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
- ใช้ระบบ AI วิเคราะห์ท่าทางและการเคลื่อนไหวโดยอัตโนมัติ ไม่จําเป็นต้องตั้งโปรแกรมเฉพาะ
แอปพลิเคชัน Janine
- ออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแล
- เชื่อมต่อกับเซนเซอร์ Gunther IMU ผ่านระบบบลูทูธ
- แสดงผลการวิเคราะห์ท่าทางและการเคลื่อนไหวแบบเรียลไทม์
- มีระบบประเมินความเสี่ยงการพลัดตกหกล้มที่อ้างอิงตามมาตรฐานทางคลินิก ซึ่งผู้ใช้สามารถทําได้ด้วยตนเองในชีวิตประจําวัน
- บันทึกข้อมูลการใช้งานและประมวลผลเพื่อให้คําแนะนําที่เหมาะสมเฉพาะบุคคล
กลุ่มผู้ใช้งานเป้าหมาย
ผู้สูงอายุและผู้ดูแล รวมทั้งบุคคลทั่วไปที่ต้องการป้องกันการบาดเจ็บจากท่าทางและการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมาะสม
สถานะการพัฒนา
ผ่านการทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดสอบภาคสนามกับกลุ่มอาสาสมัคร เพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้งานจริง