นิทรรศการ

NSTDA ANNUAL CONFERENCE 2025

“บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร” สนองพระราชดำริ อนุรักษ์ ฟื้นฟูพันธุ์หวาย ส่งต่อสู่เยาวชน ผ่านห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ระดับโรงเรียน ในโครงการการเรียนรู้สะเต็มศึกษาสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายผ่านกระบวนการเรียนรู้ ด้วยโครงงานด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

ติดต่อสอบถาม
นางสาวธัญญ์ณัช บุษบงค์
ผู้ประสานงานอาวุโสฝ่ายประสานงานหน่วยงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนากำลังคนและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สวทช. ร่วมกับ มูลนิธิใจกระทิง ดำเนินกิจกรรม

“โครงการเรียนรู้สะเต็มศึกษาสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยโครงงานด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช”
วัตถุประสงค์

เพื่อให้โรงเรียนมีศักยภาพในการเป็นต้นแบบหรือศูนย์กลางการจัดการเรียนรู้ด้านเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชแก่โรงเรียนอื่นๆ ที่ใกล้เคียงในภูมิภาค เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนที่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ และสร้างกำลังคนทางวิทยาศาสตร์โดยส่งเสริมการคิดอย่างเป็นระบบ และค้นคว้าหาความรู้ ผ่านกิจกรรมการฝึกทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร และห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในโรงเรียนภายใต้โครงการฯ  รองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนและอาจารย์ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และรักษาสมดุลของทรัพยากรทางธรรมชาติ การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตด้านการเกษตรและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ SDGs

กลุ่มเป้าหมาย โรงเรียนในโครงการฯ จำนวน 5 โรงเรียน ได้แก่ 
  1. ท่าวังผาพิทยาคม จ.น่าน 
  2. ตะกั่วป่า “เสนานุกูล” จ. พังงา 
  3. สตรีระนอง จ.ระนอง 
  4. วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ จ. บุรีรัมย์ 
  5. สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จ. ปทุมธานี

ระยะเวลาดำเนินการ 1 พฤษภาคม  2563 – 31 ธันวาคม 2568


ผลการดำเนินงาน
การฝึกอบรม

ครู เยาวชน ไม่น้อยกว่า 500 คน 5 โรงเรียนได้รับการฝึกอบรมเฉพาะทางเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

การเพาะเลี้ยง

โครงงานวิทยาศาสตร์ด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 115 โครงงาน

รางวัล

รางวัล และนำเสนอโครงงาน ไม่น้อยกว่า 50 รางวัล

ศึกษาต่อ

นักเรียน เข้าศึกษาต่อทาง
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

โรงเรียนต้นแบบ

มีโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้ด้านเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ที่เชื่อมโยงกิจกรรมกับชุมชนและโรงเรียนใกล้เคียง

การร่วมมือในพื้นที่

โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม จังหวัดน่าน 
ร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูพันธุ์หวายส่งต่อสู่เยาวชนในท้องถิ่น

เส้นทางการพัฒนาเยาวชนท่าวังผาสู่นักอนุรักษ์พันธุ์หวายผ่านการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคมอำเภอท่าวังผาจังหวัดน่าน

โดยความร่วมมือกับสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มูลนิธิใจกระทิงและโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริมการปลูกหวายและไผ่จังหวัดน่านตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูพันธุ์หวายส่งต่อสู่เยาวชนในจังหวัดน่านผ่านการจัดกิจกรรมห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชของโรงเรียน

ความสำคัญของการอนุรักษ์หวายในจังหวัดน่าน

การอนุรักษ์หวายในจังหวัดน่านมีความสำคัญต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจท้องถิ่น เนื่องจากหวายเป็นพืชสำคัญในป่าต้นน้ำที่ช่วยรักษาความชุ่มชื้นของดินและป้องกันการพังทลายของหน้าดิน การอนุรักษ์หวายยังช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมหัตถกรรมพื้นบ้าน สร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่น นอกจากนี้ หวายหลายสายพันธุ์กำลังลดจำนวนลงจากการเก็บเกี่ยวอย่างไม่ยั่งยืน การปลูกและฟื้นฟูหวายจึงเป็นแนวทางสำคัญในการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่

ปัญหาที่พบในกระบวนการขยายพันธุ์หวาย

กระบวนการขยายพันธุ์หวายจะสามารถทำได้จากการเพาะเมล็ด ไม่สามารถแยกหน่อได้ จะต้องนำเมล็ดไปแช่น้ำและนำมาบ่มในทราย พบว่าร้อยละการงอกของเมล็ดหวายที่ได้จากการเพาะเมล็ดด้วยวิธีนี้ต่ำ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่น อายุของเมล็ดที่เก็บเกี่ยว อุณหภูมิและสภาพภูมิอากาศ และจากสภาพอากาศที่ควบคุมได้อยาก สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง อากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้น ฝนตกน้อยลงทำให้เมล็ดหวายฝ่อไม่เจริญเติมโตพอที่จะสามารถนำมาเพาะได้ และจากกระบวนการเพาะด้วยวิธีธรรมชาติพบว่า หนึ่งเมล็ดจะสามารถให้ต้นกล้าหวายได้เพียงหนึ่งต้น ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการของชุมชน

แนวทางแก้ไข

นำเมล็ดหวายมาทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโรงเรียนท่าวังผาพิทยาคมเพราะในกระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมและธาตุอาหาร ที่เหมาะสมต่อการงอกและการเจริญเติบโตของหวายได้ และนอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มจำนวนต้นกล้าหวายจากเมล็ดหวายหนึ่งเมล็ดให้ได้จำนวนมากกว่าหนึ่งต้นได้

พระราชดำรัสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันอังคารที่ ๑๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๔

… สังเกตเห็นว่าประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกนั้นมีปัญหาทางด้านการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมมากบางเรื่อง เรื่องสุดวิสัยที่จะทำอะไรแก้ไขได้แต่บางเรื่องน่าจะยังมีส่วนที่เราจะพิจารณาและคิดหาทางแก้ไขกันได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เช่นในเรื่องของทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรป่าไม้ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ ที่สอนกัน คือจะต้องรักษาจริง ๆ มิเช่นนั้นรุ่นนักเรียนเมื่อโตขึ้นหรือรุ่นลูกหลานของนักเรียนต่อไป ก็จะมีชีวิตที่ยากลำบากมากยิ่งกว่านี้ต้องพิจารณาเรื่องนี้ให้ดี …

บทบาทความร่วมมือของหน่วยงาน
สถานศึกษา

โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม จังหวัดน่าน พัฒนาเยาวชนท่าวังผาสู่นักอนุรักษ์พันธุ์หวายผ่านการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโรงเรียน

หน่วยงานวิชาการ

สวทช.
สนับสนุนองค์ความรู้วิชาการทางด้านเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และให้คำปรึกษาการทำโครงงาน

หน่วยงานเพื่อสาธารณะ

มูลนิธิใจกระทิง 
สนับสนุนงบประมาณ ติดตามให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง

หน่วยงานชุมชนในพื้นที่

โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริมการปลูกหวายและไผ่ จังหวัดน่าน
สนับสนุนแหล่งเรียนรู้ และพันธุ์หวายท้องถิ่นเพื่อใช้ในการจัดทำโครงงานนักเรียน

เส้นทางการพัฒนาเยาวชนท่าวังผา สู่นักอนุรักษ์พันธุ์หวายผ่านการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปี 2560

โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างทักษะด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชสำหรับเยาวชนไทย ในหัวข้อโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การขยายพันธุ์หวายที่พบในจังหวัดน่านโดยวิธีเพาะเลื้ยงเนื้อเยื่อ ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร 

ปี 2561

เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างทักษะด้านเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสำหรับเยาวชนไทย ในหัวข้อโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการเพิ่มจำนวนต้นพันธุ์หวายโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร

ปี 2562

โรงเรียนได้รับคัดเลือกจาก สวทช. เข้าร่วมโครงการการเรียนรู้สะเต็มศึกษาสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายผ่านกระบวนการเรียนรู้ โดยปฏิบัติจริงและพัฒนาทักษะปฏิบัติด้วยโครงงานด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อพืช 

ปี 2563

ถวายรายงาน เรื่อง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหวาย ที่พบในจังหวัดน่าน แด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ โรงสีข้าวพระราชทาน อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน 

ปี 2563

ได้รับงบประมาณสนับสนุนในการจัดสร้างห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากมูลนิธิใจกระทิง จำนวน 300,000 บาท 

ปี 2564-2565

โรงเรียนได้รับการสนับสนุนทางด้านวิชาการจาก สวทช. เกิดโครงงาน จานวน 9 โครงงาน โดย ได้รับงบประมาณสนับสนุน ดาเนินโครงงาน จานวน 125,000 บาท และได้รับตัวอย่างพันธุ์หวายและความรู้จาก โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริมการปลูกหวายและไผ่ จังหวัดน่าน ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี