นิทรรศการ

NSTDA ANNUAL CONFERENCE 2025

ยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้

ติดต่อสอบถาม
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)
ยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ดำเนินงานในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดมหาสารคาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 โดยมีเป้าหมายนำองค์ความรู้และเทคโนโลยียกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ผัก ปศุสัตว์และสิ่งทอ เพื่อให้เกษตรกรมีความมั่นคงด้านอาหาร เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ สำหรับเกษตรกรชาวนาส่วนใหญ่ประสบปัญหาผลผลิตตกต่ำ ขาดเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี ขาดองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม โรคแมลงระบาด ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง (ฝนแล้ง/น้ำท่วม) รวมถึงขาดแคลนแรงงาน เป็นต้นต่อมาในปี พ.ศ. 2567 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และศูนย์พันธุวิศวกรรม
และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยเทคโนโลยีข้าวสายพันธุ์ใหม่ ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์ GAP Seed การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวดีมีคุณภาพดีเป็นปัจจัยเริ่มต้นที่สำคัญของการเพิ่มผลผลิตและลดปริมาณการใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่ อีกทั้งเกษตรกรสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีไว้ใช้เองได้ โดยมีเกษตรกรเป้าหมายจำนวน 510 ราย จาก 11 กลุ่ม ในพื้นที่อำเภอท่าตูม อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ผลจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้
  • แปลงต้นแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี 31 แปลง 
  • เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีไว้ใช้เอง ลดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ได้ร้อยละ 16.30 (เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 25 กิโลกรัมต่อไร่ ราคา 24 บาท/กก. = 600 บาทต่อไร่ ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวได้ 12,071 กิโลกรัม มูลค่า 301,775 บาท)
  • ข้าวสายพันธุ์ใหม่-หอมสยาม 2 เพิ่มผลผลิต 169 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 35.5 ของข้าวขาวดอกมะลิ 105 (ปลูกข้าวพันธุ์หอมสยาม 2 ได้ผลผลิต 646 กิโลกรัมต่อไร่ ปลูกข้าวพันธุ์หอมมะลิ 105 ได้ผลผลิต 477 กิโลกรัมต่อไร่) 
  • มีข้าวสีโภชนาการสูง ได้แก่ นิลละมุน แดงจรูญ ไรซ์เบอร์รี่ 2 เพิ่มช่องทางการตลาดให้เกษตรกร 
  • เกษตรกร 32 ราย ได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นผู้ตรวจสอบแปลงนา
6 ข้าวสายพันธุ์ใหม่กับการยกระดับประสิทธิภาพการผลิตข้าวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ 

ผลผลิตเฉลี่ยข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่ปลูกในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดมหาสารคาม ปีการผลิต 2567

กลุ่มพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ข้าวลักษณะประจำพันธุ์
1. พันธุ์ข้าวหอมนุ่มพรีเมี่ยม1. หอมสยาม 2 ปรับปรุงฐานพันธุกรรมขาวดอกมะลิ 105 (ผลผลิตสูง)ข้าวเจ้าหอมพื้นนุ่ม ไวแสง ทนน้ำท่วมฉับพลัน ผลผลิต 646 กิโลกรัมต่อไร่ 
2. พันธุ์ข้าวสีโภชนาการสูง2. แดงจรูญข้าวเจ้านุ่ม สีแดง ไม่ไวแสง มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ต้านทานโรคไหม้ ผลผลิต 500 กิโลกรัมต่อไร่
3. นิลละมุนข้าวเจ้าหอม นุ่ม สีม่วง-ดำ ต้านทานโรคไหม้ ไม่ไวแสง ผลผลิต 522 กิโลกรัมต่อไร่
4. ไรซ์เบอร์รี่ 2ข้าวเจ้านุ่ม สีม่วง-ดำ ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง ไม่ไวแสง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลผลผลิต 466 กิโลกรัมต่อไร่
3. พันธุ์ข้าวเหนียวเพื่ออุตสาหกรรมข้าวเม่า5. ธัญสิรินต้นเตี้ยข้าวเหนียวพื้นนุ่ม ไวแสดง ต้านทานโรคไหม้ ต้นเตี้ย ผลผลิต 732 กิโลกรัมต่อไร่
6. ข้าวเหนียวดำข้าวเหนียวดำหอมนุ่ม ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง ต้นเตี้ย ผลผลิต 700 กิโลกรัมต่อไร่

ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.nstda.or.th/agritec/new-rice-tungkula/

ผลผลิตข้าวสายพันธุ์ใหม่และข้าวสายพันธุ์เปรียบเทียบในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดมหาสารคาม ปีการผลิต 2567
ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิตข้าวให้ได้คุณภาพ
การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี
การใช้เมล็ดพันธุ์ดีทำให้เกษตรกรประหยัดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ เนื่องจากใช้ในปริมาณน้อยกว่าเมล็ดพันธุ์ทั่วไป
ทดสอบข้าวสายพันธุ์ใหม่
เปรียบเทียบพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมสำหรับส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก ต้านทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม มีคุณภาพหุงต้มดี ผลผลิตสูง อายุเก็บเกี่ยวสั้นถึงปานกลาง เพิ่มทางเลือกทางรอดให้เกษตรกร
ไลน์บอทโรคข้าว
บริการวินิจฉัยโรคข้าวผ่านไลน์บอท (LINE Bot) เมื่อเกษตรกรส่งภาพเข้ากลุ่ม ระบบจะส่งรูปภาพไปที่คอมพิวเตอร์แม่ข่ายเพื่อวิเคราะห์โรคข้าวและส่งคำวินิจฉัยพร้อมคำแนะนำผ่านไลน์บอท
พัฒนาศักยภาพผู้ตรวจสอบแปลงนา
ผลักดันให้เกิดเกษตรกรผู้ตรวจสอบแปลงนาที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้สอดคล้องกับการตรวจประเมินระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว GAP Seed โดยมีศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ
จุลินทรีย์ควบคุมโรคพืชและแมลงศัตรูพืช และการจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร
หัวเชื้อจุลินทร์ ประกอบด้วย เชื้อราไตรโคเดอมาร์ (Trichoderma sp.) ร่วมกับ กลุ่มแบคทีเรียบาซิลลัส (Bacillus sp.) ที่มีอัตราความเข้มข้นจุลินทรีย์ไม่น้อยกว่า 109 CFU/mL ของจุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ สามารถจัดการโรคจากเชื้อราและแบคทีเรียได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดระยะเวลาการย่อยสลายเศษวัสดุอินทรีย์ได้เร็วขึ้น 40 % ได้ธาตุอาหารพืช และช่วยป้องกันโรคพืช
แอปพลิเคชัน CStock และชุดวิเคราะห์ดินแบบพกพาสำหรับการจัดการดินและปุ๋ยเพื่อการปลูกพืช
เครื่องมือแนะนำการใส่ปุ๋ย เกษตรกรสามารถระบุค่าผลวิเคราะห์ดินเพื่อคำนวนปุ๋ยที่เหมาะสมได้ด้วยตนเอง ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี ช่วยลดปริมาณการใส่ปุ๋ยที่มากเกินความจำเป็นและลดต้นทุนด้านปัจจัยการผลิตให้เกษตรกร