
SDG2
Zero Hunger

SDG12
Responsible Consumption and Production
ข้อมูลหลัก :
ไทยมีขยะอาหารปีละเกือบ 10 ล้านตัน ซึ่งใน 4 ล้านตัน เป็นอาหารที่ยังนำไปบริโภคได้ในขณะเดียวกันไทยยังมีประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้ ปัญหาขยะอาหารและการสูญเสียอาหารไม่เพียงแต่สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจ แต่ยังปล่อยก๊าซมีเทนที่ส่งผลต่อภาวะโลกร้อน โครงการนี้มุ่งเน้นการจัดการอาหารส่วนเกินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการกอบกู้อาหารส่วนเกินจากแหล่งผลิตและแหล่งจำหน่าย เช่น ร้านอาหารโรงแรม โรงงานผลิตอาหาร ร้านสะดวกซื้อ และ ห้างสรรพสินค้า ดำเนินการโดยมูลนิธิและกลุ่มจิตอาสา และส่งต่ออาหารส่วนเกินที่มีคุณภาพและความปลอดภัยไปยังชุมชนและประชากรกลุ่มเปราะบาง ซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ถึง 2 เป้าด้วยกัน คือ SDG2 Zero Hunger และ SDG12 Responsible Consumption and Production
ธนาคารอาหาร ( Food Bank)
เป็นแนวคิดแบบองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ที่ทำหน้าที่รวบรวมและแจกจ่ายอาหารให้กับกลุ่มเปราะบางในสังคมประเภทต่างๆ อาทิ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ คนไร้บ้าน ชุมชนแออัด เด็กกำพร้า และผู้ที่มีรายได้น้อย เพื่อแก้ปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารในสังคม นอกจากนี้ธนาคารอาหารยังทำหน้าที่เป็นคลังเก็บสินค้าและศูนย์กระจายอาหาร ทำหน้าที่เป็นหนึ่งในโครงสร้างที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในกรณีที่เกิดวิกฤตในประเทศ เช่น ภัยพิบัติต่างๆ
สวทช. ร่วมกับ มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) และหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ดำเนินการศึกษาและวิจัยเชิงนโยบายเพื่อสร้างต้นแบบการดำเนินงานเพื่อบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน (Food surplus) ของประเทศไทย เพื่อผลักดันให้เกิดการจัดตั้งธนาคารอาหารของประเทศไทย
นอกจากนี้ สวทช. ยังสนับสนุนการนำเทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการอาหารส่วนเกินให้มีประสิทธิภาพและความปลอดภัย ดังนี้
โดย สวทช. มีเป้าหมายการดำเนินงานในระยะต่อไป ในการขยายผลการดำเนินงานในลักษณะของธนาคารอาหารในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึงการผลักดันให้เกิดมาตรการสนับสนุนผู้บริจาคอาหารในการเข้าร่วมกระบวนการบริจาคอาหาร เช่น มาตรการจูงใจทางภาษีหรือการมาตรการส่งเสริมเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน
หากท่านสนใจเข้าร่วมบริจาคอาหารส่วนเกินกับโครงการหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ตามช่องทางการติดต่อ

