นิทรรศการ

NSTDA ANNUAL CONFERENCE 2025

Digital Healthcare Platform

ติดต่อสอบถาม
ทีมวิจัยนวัตกรรมและข้อมูลเพื่อสุขภาพ (HII) กลุ่มนวัตกรรมการแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ (DHCB) 
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ทีมวิจัยเทคโนโลยีที่ทุกคนเข้าถึงและสิ่งอำนวยความสะดวก (AAT)  กลุ่มนวัตกรรมการแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ (DHCB) 
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ทีมวิจัยเทคโนโลยีที่ทุกคนเข้าถึงและสิ่งอำนวยความสะดวก (AAT) ทีมวิจัยนวัตกรรมและข้อมูลเพื่อสุขภาพ (HII) กลุ่มนวัตกรรมการแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ (DHCB) 
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

A-MED Care Platform

A-MED Care Platform เป็นผลงานวิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยนวัตกรรมและข้อมูลเพื่อสุขภาพ (HII) กลุ่มนวัตกรรมแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ (DHCB) สวทช.ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) และร่วมมือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สภาเภสัชกรรม สภาการพยาบาล แพทยสภา สภาการแพทย์แผนไทย สภากายภาพบำบัด สภาทันตกรรม และสภาเทคนิคการแพทย์ พัฒนาต่อยอดมาจากแพลตฟอร์ม A-MED Telehealth โดยมีเป้าหมายเป็นแพลตฟอร์มกลางให้บริการดูแลรักษาโรคทั่วไป สำหรับหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ (Primary Care) ที่ได้รับรองศักยภาพการให้บริการโดย สปสช.

A-MED Care Platform ครอบคลุมกระบวนการยืนยันและพิสูจน์ตัวตน (Authentication) ของผู้ป่วยด้วยบัตรประชาชนแบบสมาร์ตการ์ด บันทึกการรักษาโรค จ่ายยาเวชภัณฑ์ ตลอดจนส่งเคลมผ่านระบบ API ไปยัง สปสช. ได้โดยตรง พร้อมมีระบบ Dashboard ติดตามสถานการณ์ แบบเบ็ดเสร็จ

ปัจจุบัน (ณ วันที่ 20 ธ.ค. 2567) A-MED Care Platform ให้บริการร้านยาคุณภาพ มากกว่า 2,840 แห่ง คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น มากกว่า 4,164 แห่ง คลินิกเวชกรรมชุมชนอบอุ่น มากกว่า 411 แห่ง และคลินิกแพทย์แผนไทยชุมชนอบอุ่น มากกว่า 336 แห่ง อยู่ระหว่างขยายผลการใช้งานให้ครอบคลุมทั่วประเทศต่อไป

รูปที่ 1 ต้นแบบแพลตฟอร์ม A-MED Care

จุดเด่น/ประโยชน์ของเทคโนโลยี
  • แพลตฟอร์มออกแบบให้ใช้งานบนคลาวน์ภาครัฐ GDCC ที่มีมาตรฐานสากล ISO 27001 และ ISO 20000-1 มีความมั่นคงด้านเสถียรภาพและความปลอดภัยสูง
  • มีระบบ API เชื่อมโยงระบบการขอบริการยืนยันและพิสูจน์ตัวตน
  • มีระบบเชื่อมต่อเครื่องอ่านบัตรประชาชนแบบ Smart Card รองรับการปิดสิทธิ์
  • มีระบบ API เชื่อมโยงระบบเบิกจ่ายบริการสุขภาพ (e-Claim)
  • มีระบบ Dashboard ติดตามผลการเบิกจ่ายแบบ Real-time
กลุ่มลูกค้า/ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
  • หน่วยงานที่ต้องการใช้งาน A-MED Care Platform จะต้องเป็นหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช. และต้องผ่านการประเมินคุณภาพหน่วยบริการภายใต้การกำกับดูแลของสภาวิชาชีพนั้นๆ ได้แก่ ร้านยา ร้านยา คลินิกพยาบาล คลินิกเวชกรรม คลินิกแพทย์แผนไทย คลินิกกายภาพบำบัด คลินิกทันตกรรม และคลินิกเทคนิคการแพทย์
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
  • ทีมวิจัยนวัตกรรมและข้อมูลเพื่อสุขภาพ (HII) กลุ่มนวัตกรรมการแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ (DHCB)
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อีเมล dhcb-hii@nstda.or.th

A-MED Homeward

แพลตฟอร์ม A-MED Homeward สำหรับโรงพยาบาล

A-MED Home ward สำหรับโรงพยาบาล เป็นผลงานวิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยนวัตกรรมและข้อมูลเพื่อสุขภาพ (HII) กลุ่มนวัตกรรมแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ (DHCB) พัฒนาต่อยอดมาจากแพลตฟอร์ม A-MED Telehealth โดยมีเป้าหมายเป็นแพลตฟอร์มกลางให้บริการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยในที่บ้าน สำหรับหน่วยบริการระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) เช่น โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลเอกชน เป็นต้น โดยจะต้องได้รับรองศักยภาพการให้บริการโดย สปสช. 

A-MED Home ward รองรับการดูแลผู้ป่วยโรคทางกาย 7 กลุ่มโรค และโรคทางจิตเวช ดังนี้

  • โรคเบาหวาน
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคแผลกดทับและพื้นที่กดทับ
  • โรคติดเชื้อในระบบทางเดิน
  • โรคปอด
  • โรคไส้ติ่งอักเสบ
  • โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019  

ปัจจุบัน A-MED Home ward ให้บริการโรงพยาบาล ดูแลโรคทางกาย มากกว่า 700 แห่ง และโรงพยาบาล ดูแลโรคทางจิตเวช มากกว่า 20 แห่ง และจะขยายผลการใช้งานให้ครอบคลุมโรงพยาบาลทางกายและทางจิตทั่วประเทศต่อไป

รูปที่ 1 ต้นแบบแพลตฟอร์ม A-MED Homeward สำหรับโรงพยาบาล 

จุดเด่น/ประโยชน์ของเทคโนโลยี  
  • เป็นแพลตฟอร์มกลางให้บริการทางการแพทย์ทางไกล (Telehealth) สำหรับดูแลรักษาผู้ป่วยในที่บ้าน สำหรับทีม แพทย์ เภสัชกร พยาบาลหรือสหวิชาชีพ 
  • แพลตฟอร์มออกแบบให้ใช้งานบนคลาวน์ภาครัฐ ที่มีมาตรฐานและความปลอดภัยสูง 
  • มีระบบ Dashboard แสดงสถานการณ์ จำนวนผู้ป่วย สถานะผู้ป่วยฯ แบบเรียลไทม์ (Real-time) 
  • มีระบบ Video conference ให้ทีมแพทย์ เภสัชกร พยาบาล ใช้เยี่ยมติดตามอาการผู้ป่วยทางไกล 
  • ได้รับการยอมรับเป็นเครื่องมือให้บริการกับหน่วยบริการที่ต้องการเบิกจ่าย สำหรับบริการ DMS  Home ward ของ สปสช.
กลุ่มลูกค้า/ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
  • กลุ่มเป้าหมายของผู้ใช้ แพลตฟอร์ม โรงพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช. 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 
  • ทีมวิจัยนวัตกรรมและข้อมูลเพื่อสุขภาพ (HII) กลุ่มนวัตกรรมการแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ (DHCB) 
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อีเมล dhcb-hii@nstda.or.th  

ThaiSook

ThaiSook แอปพลิเคชันส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ThaiSook เป็นแอปพลิเคชันเพื่อติดตามสุขภาพสำหรับผู้ใช้งานแบบกลุ่ม/บุคคล ผ่านกิจกรรมการแข่งขันแบบออนไลน์ และระบบการใช้โค้ชแบบไฮบริด 

ThaiSook ถูกออกแบบสำหรับการช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเฉพาะ โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่ได้รับการอ้างอิงจากงานวิจัยว่าสามารถช่วยกระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเพิ่มอัตราความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ดียิ่งขึ้นในระยะยาว รวมถึงมีการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการตรวจสอบ และช่วยในการใช้งาน เพื่อสุขภาพที่ดีของบุคลากรในองค์กร 

ThaiSook มีความปลอดภัยได้มาตรฐานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และมีกระบวนการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติในธรรมาภิบาลข้อมูลของ สวทช. 

จุดเด่น/ประโยชน์ของเทคโนโลยี
  • บันทึกและติดตามข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ เช่น กิจกรรมทางกาย ก้าวเดิน ปริมาณผักผลไม้ การนอน และดัชนีสุขภาพ เช่น น้ำหนัก รอบเอว ความดัน ผลเลือด เพื่อใช้ติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มของพฤติกรรม 
  • ใช้ในการแข่งขันส่งเสริมสุขภาพแบบออนไลน์ภายในหน่วยงานหรือองค์กร จากพฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญ เช่น กิจกรรมทางกาย การกิน การนอน เป็นต้น  
  • จัดทำรายงานสรุปสำหรับผู้บริหารองค์กร ในการติดตามความก้าวหน้าของกิจกรรม และผลลัพธ์ของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
กลุ่มลูกค้า/ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
  • หน่วยงานหรือองค์กรที่สนใจใช้แพลตฟอร์มไทยสุขในการส่งเสริมกิจกรรมในองค์กร สามารถติดต่อได้ทาง Line Official: @thaisook เพื่อทดลองใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 
  • ทีมวิจัยเทคโนโลยีที่ทุกคนเข้าถึงและสิ่งอำนวยความสะดวก (AAT)  กลุ่มนวัตกรรมการแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ (DHCB) 
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อีเมล dhcb-aat@nstda.or.th  

iDEMS Digital Platform

iDEMS Digital Platform สำหรับบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

iDEMS Digital Platform เป็นการร่วมมือของภาคีเครือข่ายด้านดิจิทัลทั้งภาครัฐและเอกชนได้แก่ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตรายใหญ่ของประเทศ เพื่อสนับสนุนระบบปฏิบัติการช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉิน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบรับเรื่องและจ่ายงานฉุกเฉินการแพทย์ให้มากขึ้น เพื่อการสั่งการช่วยเหลือรักษาจากแพทย์อำนวยการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยชีวิตได้ทันท่วงที พร้อมทั้งส่งต่อไปยังโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษา ลดอัตราการเสียชีวิตและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการ ให้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทย

iDEMS Digital Platform ประกอบด้วย 
  • ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินดิจิทัล (Call Information System: CIS)  
    แบบ Total Conversation ที่รองรับการสนทนาได้ทั้งเสียง ข้อความ ภาพ และภาพเคลื่อนไหว พร้อมระบบ SMS-Link สนับสนุนช่วยในการช่วยซักถามตำแหน่งและอาการ เพื่อลดเวลาในการซักถามและให้ความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น 

  • ระบบ Emergency Telemedical Operation (ETO)  
    เชื่อมต่อกับอุปกรณ์สัญญาณชีพต่าง ๆ บนรถฉุกเฉิน แล้วส่งข้อมูลสัญญาณชีพและภาพจากกล้องภายในรถ ไปยังระบบอำนวยการทางการแพทย์ดิจิทัลแบบ Real-time

  • ระบบอำนวยทางการแพทย์ดิจิทัล (Medical Information System: MIS)  
    แสดงและประมวลผลข้อมูลประเภทต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการช่วยชีวิตระหว่างส่งตัวผู้ป่วยมายังห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล 

  • ระบบรายงานผลรับเรื่องและสั่งการ (Dashboard)  
    เพื่อรายงาน ตรวจสอบ และติดตามข้อมูลภาพรวมสถานการณ์การโทรฯ แจ้งเหตุในหลายมิติ ซึ่งช่วยให้การช่วยเหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
กลุ่มลูกค้า/ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
  • การติดต่อเพื่อขอรับบริการของหน่วยงาน ติดต่อสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อขอเข้าร่วมใช้งานแพลตฟอร์ม

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 
  • ทีมวิจัยเทคโนโลยีที่ทุกคนเข้าถึงและสิ่งอำนวยความสะดวก (AAT) ทีมวิจัยนวัตกรรมและข้อมูลเพื่อสุขภาพ (HII) กลุ่มนวัตกรรมการแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ (DHCB) 
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อีเมล dhcb-aat@nstda.or.th