การจัดแสดงจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
- ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารชีวภาพแทนการใช้ antibiotics ในการควบคุมเชื้อแบคทีเรีย และสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องเชื้อดื้อยาเมื่อมีการใช้ antibiotics ไม่เหมาะสมตลอดการผลิตสัตว์น้ำ โดยเป็นผลงานเรื่อง “ShrimpGuard: Innovation Solutions for Combatting AMR in Aquaculture” ที่ได้รับทุนจาก IDRC, Canada และ GAMRIF, UK
- ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมการเลี้ยงกุ้งแบบน้ำหมุนเวียนที่มีการใช้ Aqua-IOT (NECTEC) และ AI software ที่พัฒนาขึ้นเพื่อการอ่านผลเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อก่อโรค ซึ่งได้รับทุนวิจัยจาก FF67 เรื่อง การพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีระบบน้ำหมุนเวียน ระบบตรวจวัดควบคุมและสั่งการแบบแม่นยำในการผลิตสัตว์น้ำ ที่ได้รับทุนวิจัยจาก FF67 (non-STIST)
ที่มาของงานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์
การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสัตว์น้ำอย่างยั่งยืนต้องอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การหาแนวทางในการหาสารชีวภาพต้านโรคทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องใช้ antibiotics เกินความจำเป็นจึงมีความสำคัญมาก การใช้ antibiotics เกินความจำเป็นและไม่เหมาะสม จะนำไปสู่การพัฒนาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาเพิ่มมากขึ้น ทำให้การใช้ antibiotics ที่มีอยู่ในการรักษาคนไม่มีประสิทธิภาพ และประมาณการกันว่า ถ้าประเทศไทยไม่ลดการใช้ antibiotics และทำให้เชื้อดื้อยาพัฒนาเพิ่มขึ้น จะทำให้มีผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาไม่น้อยกว่า 10 ล้านคนทั่วโลก ในปี 2573
การพัฒนาการผลิตสัตว์น้ำอีกแนวทางหนึ่ง คือการใช้ระบบน้ำหมุนเวียนที่ประกอบด้วยระบบบำบัดน้ำที่เหมาะสมสามารถเวียนกลับมาใช้ในการผลิตได้ ทั้งนี้ ในสภาวะปัจจุบันที่มีปัญหาโลกร้อน โลกรวน ปริมาณน้ำลดลง ความเค็มน้ำสูงขึ้น การนำน้ำเข้ามาเพื่อใช้ในการเลี้ยงใหม่ทุกรอบจึงมีความเสี่ยงต่อประสิทธิภาพการผลิต ทีมนักวิจัยจึงได้พัฒนาต้นแบบระบบน้ำหมุนเวียนที่มีระตรวจวัดควบคุมและสั่งการแม่นยำในการผลิตสัตว์น้ำขึ้น ที่คาดหวังว่าจะสามารถลดการใช้ทรัพยากรน้ำ ลดการปล่อยน้ำเสียสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างยั่งยืน
ข้อมูลติดต่อ
- ดร.อุดม แซ่อึ่ง นักวิจัยภายใต้ ShrimpGuard project เบอร์โทรศัพท์ 02 564 6700 ต่อ 3226, 3217 อีเมล udom.sae@biotec.or.th
- คุณเสกสรร ศาสตร์สถิต หัวหน้าโครงการการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีระบบน้ำหมุนเวียน ระบบตรวจวัดควบคุมและสั่งการแบบแม่นยำในการผลิตสัตว์น้ำ ที่ได้รับทุนวิจัยจาก FF67 (non-STIST) เบอร์โทรศัพท์: 02 564 6900 ต่อ 2861 อีเมล seksun.sartsatit@nectec.or.th