นิทรรศการ

NSTDA ANNUAL CONFERENCE 2025

มาตรฐานแนะนำการตรวจรับรางและการจัดเก็บรางใหม่

ติดต่อสอบถาม
ดร.ปนัดดา เช็พเพิร์ด : นักวิจัยอาวุโส
คุณสยาม แก้วคำไสย์ : หัวหน้าทีมวิจัย

ระบบขนส่งทางรางของประเทศไทยกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ครอบคลุมทั้งรถไฟขนส่งมวลชน รถไฟชานเมือง รถไฟทางไกล และรถไฟความเร็วสูง ซึ่งมีระยะทางรวมหลายหมื่นกิโลเมตร อย่างไรก็ตาม หากรางไม่มีสมบัติเชิงกลที่เหมาะสมก่อนติดตั้ง อาจเสี่ยงต่อการแตกหักเสียหายได้

จากการวิจัยของกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ พบว่าราง R260 ตามมาตรฐาน EN 13674-1 ซึ่งจะนำมาใช้แทนราง 900A ของ UIC 860 ผ่านการทดสอบจากผู้ผลิต แต่จากการสุ่มตรวจสอบพบชั้นสูญเสียคาร์บอนที่ผิว (Decarburized Layer) และร่องหลุมจากการกัดกร่อนระหว่างการจัดเก็บ นอกจากนี้ การตรวจสอบรางที่เกิดความเสียหายในภาคเหนือพบว่าการแตกร้าวจากความล้าแบบกลิ้งสัมผัส (Rolling Contact Fatigue; RCF) มีจุดเริ่มต้นจากชั้นสูญเสียคาร์บอนที่ผิว

เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพของระบบขนส่งทางราง ศูนย์ฯ จึงจัดทำร่างมาตรฐานแนะนำการตรวจรับและการจัดเก็บรางใหม่ โดยได้รับความร่วมมือจากกรมการขนส่งทางรางและการรถไฟแห่งประเทศไทย

มาตรฐานฉบับนี้กำหนดแนวทางการตรวจสอบและจัดเก็บรางใหม่ โดยครอบคลุมหัวข้อสำคัญดังนี้
การตรวจสอบคุณภาพราง
  • การกำหนดจำนวนและตำแหน่งในการสุ่มตรวจ
  • การวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค
  • การวัดส่วนผสมทางเคมีและค่าความแข็ง
  • การกำหนดความลึกของชั้นที่สูญเสียคาร์บอนโดยอ้างอิงการตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคและค่าความแข็งแบบโปรไฟล์
แนวทางการจัดเก็บรางใหม่
  • วิธีป้องกันการกัดกร่อนระหว่างการจัดเก็บ
  • ข้อกำหนดทางเทคนิคและการอ้างอิงมาตรฐานสากล
ประโยชน์ และการนำไปใช้

มาตรฐานนี้ช่วยให้สามารถ:

  • ยืนยันคุณภาพรางใหม่ โดยใช้การตรวจสอบโครงสร้างจุลภาค การวัดความแข็ง และการตรวจส่วนผสมทางเคมีตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจรับ
  • ป้องกันความเสียหายก่อนติดตั้ง โดยการตรวจสอบและเจียรชั้นที่สูญเสียคาร์บอนและร่องหลุมจากการกัดกร่อน
  • ลดความเสี่ยงจากความล้าแบบกลิ้งสัมผัส (RCF) โดยกำหนดข้อกำหนดด้านคุณภาพที่เข้มงวดมากขึ้น
  • เพิ่มอายุการใช้งานราง โดยมีแนวทางที่ชัดเจนในการจัดเก็บเพื่อป้องกันการกัดกร่อน
กลุ่มเป้าหมา
  • หน่วยงานที่ให้บริการระบบขนส่งทางราง
  • ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายราง
  • วิศวกรและผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างพื้นฐานทางราง
 สถานการณ์วิจัย
  • ปัจจุบัน ร่างมาตรฐานนี้ได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายการช่างโยธาของการรถไฟแห่งประเทศไทย และอยู่ระหว่างการพิจารณาโดยกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม เพื่อพัฒนาเป็นมาตรฐานแนะนำสำหรับการตรวจรับและการจัดเก็บรางใหม่ต่อไป
ภาพและกราฟิก (Images and Graphics)