ที่มาการวิจัย

การส่งเสริมการเพิ่มมูลค่ากากของเสียอุตสาหกรรมให้เป็นวัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อการสิ้นสุดการเป็นของเสีย (End-of-Waste) ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยส่งเสริมการหมุนเวียนทรัพยากร ตามหลักการพึ่งพาอาศัยกันทางอุตสาหกรรม (Industrial Symbiosis) ในการนำมาสู่ End-of-Waste criteria 3 ด้านสำคัญ ประกอบด้วย มีความเป็นไปได้เชิงเทคนิค มีความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อม และ มีตลาดรองรับในการผลิตจริงเชิงพาณิชย์ โดยในโครงการนำร่องของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้คัดเลือกของเสียที่มีศักยภาพ เช่น เถ้าแกลบ แม่พิมพ์ปูนพลาสเตอร์รวมถึงปูนพลาสเตอร์ที่ไม่ใช้แล้ว ยิปซัมสังเคราะห์ และก้างปลาทูน่า ให้มีมาตรฐานการควบคุมที่เหมาะสมทั้งในเชิงวิชาการ ความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการสิ้นสุดการเป็นของเสีย ต่อยอดงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง และพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์

การใช้ประโยชน์
ทีมนักวิจัยได้นำประสบการณ์การทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั้งการวิจัยการเพิ่มมูลค่ากากของเสียในภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร มีผลงานวิจัย และผลิตภัณฑ์ที่มาจากการเพิ่มมูลค่ากากอุตสาหกรรมที่หลากหลาย และมีมูลค่าสูง นอกจากจะมีการประเมินความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยีแล้ว ยังการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเปรียบเทียบระหว่างการนำกากของเสียไปทิ้งโดยวีฝังกลบหรือการเผา กับการนำมาเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่หรือการเป็นวัตถุดิบสำหรับอีกอุตสาหกรรม โดยมีการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันผลักดันการวิจัยและพัฒนาไปสู่เป้าหมายการใช้ประโยชน์ และเป็นหนึ่งในแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG และรับหน้าที่ในการทำโครงการ End of Waste ใน 3 กากอุตสาหกรรมต้นแบบ ประกอบด้วย เถ้าแกลบ ยิปซัมสังเคราะห์ และก้างปลาทูน่า และต่อยอดไปในกากอุตสาหกรรมอื่นๆ ร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม อย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่างโครงการ:

ความร่วมมือ:

