นิทรรศการ

NSTDA ANNUAL CONFERENCE 2025

การผลักดันประยุกต์ใช้และการจัดการตลอดวงจรของการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก รอบที่ 7 (GEF 7)

ติดต่อสอบถาม
ดร. จิราวรรณ มงคลธนทรรศ
ทีมวิจัยเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน (ESTT) กลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน (EIRG) ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC)
ที่มา

 เนื่องจากด้วยปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลพิษทางอากาศ ประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2608 เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก หนึ่งในด้านที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมาก คือ ด้านการขนส่ง ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากยานยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง การเปลี่ยนผ่านสู่ยานยนต์ไฟฟ้าเป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญในการลดมลพิษและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

การพัฒนาระบบการขนส่งสาธารณะด้วยรถยนต์ไฟฟ้าในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการสร้างระบบขนส่งที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย โดยการดำเนินงานภายใต้โครงการนี้จะมุ่งเน้นการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในการขนส่งสาธารณะและการพัฒนาการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นโดยได้รับการสนับสนุนจาก Global Environment Facility (GEF) ผ่าน UNIDO ซึ่งเป็นการดำเนินโครงการร่วมกันระหว่าง The Eastern Economic Corridor Office of Thailand (EECO) ร่วมกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (TGO) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) 

แผนงาน

ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ ENTEC ร่วมกับ MTEC NECTEC สวทช. ดำเนินการโครงการผลักดันประยุกต์ใช้และการจัดการตลอดวงจรของการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) โดยมีแผนดำเนินงาน ดังนี้

  • พัฒนารถ EV Micro Bus ทดแทนรถสองแถวสำหรับพื้นที่ EEC (E-Songthaew)
  • ติดตั้งสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าโดยใช้โซลาร์เซลล์เป็นแหล่งพลังงานร่วม
  • ศึกษาและสาธิตแนวคิดการจัดการแบตเตอรี่หลังการใช้งานในยานยนต์ไฟฟ้า
  • พัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อสนับสนุนการใช้รถไฟฟ้าสาธารณะ
  • อบรมการซ่อมบำรุงยานยนต์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ EEC

ภาพรวมผลผลิตภายใต้โครงการ
การนำร่องให้บริการยานยนต์ไฟฟ้า
  • Minibus 7-8 เมตร ขนาด 20 ที่นั่ง จำนวน 17 คัน
  • รถไฟฟ้าทดแทนสองแถว ขนาด 12-16 ที่นั่ง จำนวน 10 คัน
การนำร่องให้บริการระบบประจุไฟฟ้า
  • ติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าจำนวน 5 สถานี ขนาดมากกว่า 50 kW และส่งเสริมให้เกิดอย่างน้อยจำนวน 17 หัวชาร์จ ขนาดกำลังไฟฟ้ารวม 850 kW
  • ติดตั้ง Solar PV ขนาด 140kW และส่งเสริมให้เกิดการติดตั้ง Solar PV ร่วมกับสถานีประจุไฟฟ้า รวม 510 kW ร่วมกับการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน 150 kWh