นิทรรศการ

NSTDA ANNUAL CONFERENCE 2025

ชุดตรวจไมโครอัลบูมินในปัสสาวะเพื่อตรวจคัดกรอง ติดตามโรคไตเรื้อรัง และภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน

ติดต่อสอบถาม
ดร.สาธิตา ตปนียากรและทีมวิจัย
ที่มา/แนวคิด ของงานวิจัย :

โรคไตเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง การตรวจพบโปรตีนไมโครอัลบูมินในปัสสาวะเป็นหนึ่งในวิธีที่ใช้ติดตามภาวะไตเสื่อมในระยะเริ่มต้น ซึ่งช่วยให้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างทันท่วงที งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการพัฒนาชุดตรวจที่มีความแม่นยำ ใช้งานง่าย และมีต้นทุนต่ำ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการตรวจคัดกรองได้อย่างทั่วถึง

รายละเอียด :

ชุดตรวจพัฒนาขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีอิมมูโนโครมาโทกราฟี (Immunochromatographic Assay) ซึ่งให้ผลการตรวจที่รวดเร็วและสามารถใช้ในสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิหรือที่บ้านได้ ออกแบบให้สามารถตรวจจับระดับไมโครอัลบูมินในช่วงที่สามารถบ่งชี้ความผิดปกติของไตได้อย่างแม่นยำ ใช้งานง่าย ไม่ต้องใช้เครื่องมือวิเคราะห์ที่ซับซ้อน และสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวังและติดตามผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน

จุดเด่น :

ชุดตรวจพัฒนาขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีอิมมูโนโครมาโทกราฟี (Immunochromatographic Assay) ซึ่งให้ผลการตรวจที่รวดเร็วและสามารถใช้ในสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิหรือที่บ้านได้ ออกแบบให้สามารถตรวจจับระดับไมโครอัลบูมินในช่วงที่สามารถบ่งชี้ความผิดปกติของไตได้อย่างแม่นยำ ใช้งานง่าย ไม่ต้องใช้เครื่องมือวิเคราะห์ที่ซับซ้อน และสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวังและติดตามผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน


การนำไปใช้ประโยชน์ :

ชุดตรวจสามารถใช้ได้เองโดยบุคคลทั่วไป รวมถึงเป็นเครื่องมือสำหรับคัดกรองและติดตามผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน ช่วยให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สามารถตรวจคัดรกองได้อย่างรวดเร็ว ลดภาระค่าใช้จ่ายในการตรวจวินิจฉัยโรคไตในระยะเริ่มต้น และสามารถนำไปใช้ในโรงพยาบาล คลินิกสุขภาพ และศูนย์ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ.ใช้เป็นเครื่องมือในการคัดกรองและติดตามผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน

กลุ่มเป้าหมาย :
  • ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (2) บุคคลทั่วไปที่มีความเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง
  • โรงพยาบาลและสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ (4) หน่วยงานสาธารณสุขที่ต้องการใช้ชุดตรวจสำหรับการคัดกรองประชากรในวงกว้าง

สถานะงานวิจัย :

ถูกนำไปใช้ประโยชน์จริงแล้ว โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ภาคเอกชน 3 บริษัท และหนึ่งในสามบริษัทขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยแล้ว

ผู้วิจัย :

ดร.สาธิตา ตปนียากร และทีมวิจัย

ผู้ประกอบการ :
  • บริษัท ไฮไลฟ์ เฮลท์ จำกัด (ผลิตชุดตรวจ KidnyCheck)
  • บริษัท อินโนซุส จำกัด (ผลิตชุดตรวจ Kitnee)
  • บริษัท เมดไบโอซิน จำกัด (ผลิตชุดตรวจ RenAcc)