“S&T เพื่อชุมชน”
คือการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมผลักดันให้เกิดการนำไปใช้งานจริงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและบริการในภารการเกษตรให้แก่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม แก้ไขปัญหาความยากจน สร้างรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ภายใตแนวคิด “S & T Implementation for Sustainable Thailand สร้างเศรษฐกิจใหม่เพื่อชุมชน” โดยแบ่งกลุ่มเทคโนโลยีเป็น 3 กลุ่มดังนี้
1. กลุ่มวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค์ดังนี้
- ยกระดับคุณภาพมาตรฐาน สินค้าเกษตรและอาหาร
- ยกระดับการผลิตผ้าไหมทอมือโดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการพัฒนา ผ้าทอชุมชน ได้แก่ กระบวนการลอกกาวไหมด้วยเอนไซม์ซิลค์โปร การสกัดสีและย้อมสีเส้นไหมจากพืชธรรมชาติในท้องถิ่น การนาโนเทคโนโลยีเคลือบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และให้ความรู้ในการการออกแบบลายผ้า
- การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์สบู่เหลวอาบน้ำและแชมพูผสมสารสกัดข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้ 2) ข้าวตังอบกรอบจากข้าวกล้องหอมมะลิระยะน้ำนม 3) ข้าวผงชงดื่มสูตรผสมจิ้งหรีดสกัด 4) ครองแครงกรอบสูตรเสริมแป้งจมูกข้าวหอมมะลิ 5) จิ้งหรีดทอดพริกสมุนไพร น้ำพริกจิ้งหรีด และ 6) Rice Brew เครื่องดื่มจากข้าวฮางงอก 4 สูตร
- การท่องเที่ยวบนฐาน ทรัพยากร ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
- ผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลการท่องเที่ยวของชุมชนร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ โดยใช้เครื่องมือ “นวนุรักษ์” ระบบบริหารจัดการ “คลังข้อมูลวัฒนธรรม” และ “ความหลากหลายทางชีวภาพ
- ร่วมกับชุมชนหน่วยงานในพื้นที่พัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยว บนฐานข้อมูลทรัพยากร ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมในท้องถิ่น นำร่องเส้นทางบ่อพันขัน “การท่องเที่ยวเชิงวิทยาศาสตร์” อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อดเอ็ด
2. กลุ่มเกษตรทั่วไปและปัจจัยการผลิต ส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อยกระดับการทำเกษตร ได้แก่
- โคเนื้อ: พัฒนายกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์ แหล่งเรียนรู้การผลิตพืชอาหารสัตว์และผลิตพันธุ์ 5 แห่ง หัวเชื้อจุลินทรีย์หมักวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร โปรแกรมคำนวนสูตรอาหารโคคุณภาพ ด้านพันธุ์ โปรแกรมเหนี่ยวนำการตกไข่และผสมเทียมโคเนื้อ พันธุ์และการผลิตโคเนื้อพันธุ์ดีตามความต้องการตลาด ด้านการจัดการฟาร์ม พัฒนาฟาร์มต้นแบบ GFM 5 แห่ง หัวเชื้อจุลินทรีย์ดับกลิ่นในฟาร์ม
- ข้าว: ข้าวสายพันธุ์ใหม่พัฒนาโดย สวทช. ได้แก่ พันธุ์หอมสยาม 2 พันธุ์ไรซ์เบอรี่ 2 พันธุ์แดงจรูญ พันธุ์นิลละมุน พันธุ์ธัญสิรินต้นเตี้ย และพันธุ์ข้าวเหนียวดำ และเทคโนโลยีไลน์บอทโรคข้าว
- ถั่วเขียว: ถั่วเขียวพันธุ์ดี KUML จากแปลงนาอินทรีย์สู่ผลิตภัณฑ์มาตรฐานอินทรีย์สากลถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียว KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต ให้วิสาหกิจชุมชนร่วมใจโนนค้อทุ่ง ต.โพนเมืองน้อย อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มาตรฐาน EU และ CORR เกษตรกรสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ (seed) ไว้ใช้เอง และผลิตถั่วเขียวอินทรีย์ (grain) ส่งจำหน่ายเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิต “พาสต้าถั่วเขียวออแกนิค” ให้บริษัท ข้าวดินดี จำกัด จำหน่ายในประเทศและส่งออกยุโรปและอเมริกา ทำให้บริษัทฯ ลดการนำเข้าถั่วเขียวจากต่างประเทศได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ และผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ได้รับรางวัล Quality Award ปี 2022 จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
3. กลุ่มเทคโนโลยีสมัยใหม่ ถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมเกษตรแม่นยำในแปลงทุเรียนด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ ได้แก่
- เทคโนโลยีฟาร์มรักน้ำ

- เทคโนโลยี สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ (Weather Station)
