นิทรรศการ

NSTDA ANNUAL CONFERENCE 2025

หุ่นยนต์บริการส่งของอัตโนมัติภายในอาคาร

ติดต่อสอบถาม
ฝ่ายพัฒนาเครือข่ายเชิงกลยุทธ์และประเมินผล (SPE) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
คำบรรยายผลงานโดยย่อ 

หุ่นยนต์บริการส่งของอัตโนมัติภายในอาคาร เป็นหุ่นยนต์ที่ได้รับการวิจัยพัฒนาฐานหุ่นยนต์ (Robot Chassis) ขึ้นมาเองแทนการใช้งานฐานหุ่นยนต์สำเร็จรูป  เพื่อให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่เข้าออกลิฟต์ ข้ามขอบประตูเลื่อนในอาคาร แก้ปัญหาการเคลื่อนที่เข้าออกลิฟต์และการทรงตัวของหุ่นยนต์เมื่อเคลื่อนที่เข้า-ออกลิฟต์ที่มีความต่างระดับของพื้น  อีกทั้งสามารถสื่อสารและสั่งงานลิฟต์โดยสารได้ผ่านแพลตฟอร์มปุ่มกดลิฟต์ไร้สัมผัสที่สามารถควบคุมผ่านอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (MagikTuch-IoT)   โดยไม่ต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบลิฟต์เดิม  รวมถึงไม่กระทบกับการรับประกันของลิฟต์โดยสาร

ที่มาของงานวิจัย

พัฒนาโดยทีมวิจัยนวัตกรรมไร้สายและระบบอัจฉริยะ (WIS) ร่วมกับทีมวิจัยสมองกลอัจฉริยะและความจริงเสมือน (SMR) โดยในปัจจุบันแม้จะมีหุ่นยนต์บริการและระบบอัจฉริยะ ที่สามารถเคลื่อนที่ไปยังจุดต่างๆที่กำหนดไว้ได้อย่างอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น หุ่นยนต์ขนส่งสิ่งของ หุ่นยนต์นําทาง หุ่นยนต์ทำความสะอาด/ฆ่าเชื้อโรค แต่การใช้งานหุ่นยนต์เหล่านี้ภายในอาคาร ยังมีข้อจํากัดของหุ่นยนต์ในการเดินทางระหว่างชั้นด้วยลิฟต์โดยสาร ที่จะสามารถช่วยเพิ่มขอบเขตการทำงานของหุ่นยนต์ และลดปริมาณหุ่นยนต์ที่ใช้ได้ โดยการที่จะให้หุ่นยนต์โดยสารลิฟต์โดยสารไปยังชั้นต่างๆได้นั้น นอกจากเซนเซอร์และระบบควบคุมการเคลื่อนที่แล้ว ยังจำเป็นต้องมีระบบที่สามารถสื่อสารกับหุ่นยนต์และควบคุมลิฟต์โดยสารได้ ซึ่งหุ่นยนต์ที่มีการพัฒนาให้สามารถโดยสารลิฟต์โดยสารได้ในปัจจุบันนั้น มีทั้งแบบใช้กลไกแขนกลในการกดปุ่มลิฟต์โดยสาร ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนและต้องมีความแม่นยําสูง หรือแบบใช้การส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายไร้สายไปยังระบบควบคุมลิฟต์โดยสาร ที่ต้องทำการแก้ไขปรับเปลี่ยนระบบควบคุมลิฟต์โดยสาร ทำให้มีผลกระทบกับการรับประกันของลิฟต์โดยสาร

จุดเด่น/ประโยชน์ของเทคโนโลยี 
  1. เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ได้อย่างอัตโนมัติ
  2. โดยสารลิฟต์โดยสารได้เองโดยอัตโนมัติ ซึ่งใช้การรับส่งคำสั่งควบคุมลิฟต์โดยสารผ่านแพลตฟอร์มปุ่มกดลิฟต์ไร้สัมผัสที่สามารถควบคุมผ่านอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (MagikTuch-IoT)
  3. เคลื่อนที่เข้า/ออกลิฟต์โดยสาร ได้อย่างอัตโนมัติโดยไม่รบกวนกับผู้โดยสารลิฟต์ท่านอื่น
  4. สามารถเคลื่อนที่ต่อไปยังตำแหน่งที่ระบุไว้ในการส่งของได้อย่างแม่นยำ5. มีระบบความปลอดภัยเพื่อส่งของให้ถึงมือผู้ใช้บริการตามที่กำหนดเท่านั้น
  5. มีระบบความปลอดภัยเพื่อส่งของให้ถึงมือผู้ใช้บริการตามที่กำหนดเท่านั้น 
ภาพประกอบ
วิจัยพัฒนาโดย
  • ทีมวิจัยนวัตกรรมไร้สายและระบบอัจฉริยะ (WIS)
  • กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG)
  • ทีมวิจัยสมองกลอัจฉริยะและความจริงเสมือน(SMR)
  • กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม (IIARG)

Keyword: delivery robot, MagikTuch-IoT