นิทรรศการ

NSTDA ANNUAL CONFERENCE 2025

แพลตฟอร์มการบริหารการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ติดต่อสอบถาม
ฝ่ายพัฒนาเครือข่ายเชิงกลยุทธ์และประเมินผล (SPE)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120

การบริหารการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ แต่การจัดการข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบันยังเป็นกระบวนการที่ต้องใช้วิธีการแบบแมนนวล ซึ่งมีความซับซ้อนและใช้เวลามากในการดำเนินการ Dcamp คือแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ ทั้งในด้านการรวบรวม การตรวจสอบ และการวิเคราะห์ข้อมูล โดยช่วยให้การจัดการบัญชีก๊าซเรือนกระจกเป็นเรื่องง่ายและอัตโนมัติ พร้อมทั้งใช้อุปกรณ์ Zcarbon ที่สามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างแม่นยำ ระบบเชื่อมต่อกับเซนเซอร์ผ่าน RS-485 เพื่อช่วยให้การตรวจวัดสะดวกและแม่นยำยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยวิเคราะห์ข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์เพื่อช่วยทำกระบวนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Decarbonized) แสดงผลแบบเรียลไทม์ ช่วยให้องค์กรสามารถติดตามและวางแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ทำให้การลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์สอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มาของงานวิจัย

การจัดการข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบันยังคงเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและใช้เวลามากในการดำเนินการ และไม่สามารถติดตามข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้ตลอดเวลา ทำให้การบริหารจัดการการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์เพื่อบรรลุเป้าหมายเป็นเรื่องยาก ทีมวิจัยจึงพัฒนา แพลตฟอร์ม Dcamp เพื่อองค์กรสามารถติดตามและวางแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

จุดเด่น/ประโยชน์ของเทคโนโลยี 
  1. ติดตามคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรแบบเรียลไทม์ ช่วยให้เห็นภาพรวมและผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ทันที
  2. บันทึกและจัดเก็บข้อมูลปีฐานเพื่อสร้างค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์เริ่มต้น 
  3. สามารถเชื่อมต่อกับ Power Meter เพื่อคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์แบบเรียลไทม์ ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากและความเสี่ยงจากข้อผิดพลาดในการป้อนข้อมูล
  4. สามารถตั้งเป้าหมายและติดตามความคืบหน้าในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้ทั้งในระดับรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี 
ภาพประกอบ
วิจัยพัฒนาโดย
  • ทีมวิจัย    เทคโนโลยีและนวัตกรรมการลดคาร์บอน (DTI)
  • กลุ่มวิจัย  ไอโอทีและระบบอัตโนมัติ สำหรับงานอุตสาหกรรม (IIARG)