นิทรรศการ

NSTDA ANNUAL CONFERENCE 2025

ก้าวใหม่ระบบสาธารณสุขไทยด้วยระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยเทคโนโลยีรู้จำลายม่านตา

ติดต่อสอบถาม
ฝ่ายพัฒนาเครือข่ายเชิงกลยุทธ์และประเมินผล (SPE) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
TRCBAS: A New Era of Thai Public Health with Iris Recognition Technology

ระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยเทคโนโลยีรู้จำลายม่านตา หรือ Thai RedCross Biometric Authentication System (TRCBAS) เป็นระบบเว็บแอปพลิเคชันของสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย พัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  TRCBAS นำไปใช้เพื่อการลงทะเบียนบุคคลจากอัตลักษณ์ทางกายภาพโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยเอกสารประจำตัว ประกอบ เพื่อประโยชน์แก่การให้บริการด้านสุขภาวะของกลุ่มประชากรข้ามชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้อพยพหนีภัยสงคราม คนไร้รัฐ และแรงงานต่างด้าวที่อาศัยในประเทศไทยทั้งถูกและผิดกฎหมาย เพราะคนกลุ่มนี้มักไม่มีเอกสารประจำตนหรือมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบ่อยครั้ง หรือตั้งใจแอบอ้างสวมสิทธิผู้อื่น TRCBAS เริ่มต้นการพัฒนาและใช้งานครั้งแรกในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ที่ผ่านมา การจดจำใบหน้าได้ถูกใช้งานสำหรับการลงทะเบียนและยืนยันตัวตนการฉีดวัคซีนโควิด 

2566 เทคโนโลยีการรู้จำลายม่านตา ถูกนำมาใช้งานในระบบ TRCBAS เนื่องด้วยลายม่านตามีความเป็นเอกลักษณ์สูง คงทน ปลอมแปลงได้ยาก จึงช่วยเพิ่มความแม่นยำและความรวดเร็วในการยืนยันตัวตน 

เทคโนโลยีพิสูจน์อัตลักษณ์จากลายม่านตาและใบหน้าถูกนำไปขยายผลสู่การใช้งานทั่วประเทศตามข้อตกลงความร่วมมือ 3 ฝ่าย นำโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สภากาชาดไทย และเนคเทค สวทช.  

31 ตุลาคม 2567 กระทรวงสาธารณสุข ประกาศให้ ระบบ TRCBAS  เป็น “มาตรฐานการให้บริการตรวจสุขภาพคนต่างด้าว” มีผลให้แรงงานต่างด้าวที่ต้องการขึ้นทะเบียนในปี 2568  กรณีที่ต้องกาใบรับรองสุขภาพจากสถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนไว้ต้องมีการลงทะเบียนชีวมิติผ่านระบบ TRCBAS นี้ด้วย 

ปัจจุบันระบบ TRCBAS มีการใช้งานจากหน่วยงานสาธารณสุขต่าง ๆ ทั่วประเทศ ได้แก่ สำนักงานควบคุมโรคเขตเมือง กรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ สมุทรสาคร ตาก แม่ฮ่องสอน ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง และโรงพยายาบาลเอกชนที่ขึ้นทะเบียนการบริการตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว จำนวน 57 โรงพยาบาล โดยมีแรงงานต่างด้าวลงทะเบียนในระบบแล้วมากกว่า 1 แสนคน

คุณลักษณะและการใช้งาน
  • ลงทะเบียนด้วย ภาพใบหน้าและ/หรือ ลายม่านตา
  • ตรวจสอบว่ามีประวัติลงทะเบียนหรือไม่
  • เชื่อมโยงข้อมูลกับเลขประจำตัว 13 หลักที่ออกโดยกระทรวงสาธารณสุข
  • พิมพ์บาร์โค้ดเพื่อนำไปใช้รับวัคซีนและบริการอื่น ๆ
  • เจ้าหน้าที่สามารถดาวน์โหลดรายงานในรูปแบบ Excel
จุดเด่น/ประโยชน์ของเทคโนโลยี
  • ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางให้ได้รับการรักษาพยาบาลตามหลักมนุษยธรรม
  • ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
  • สร้างความเชื่อมั่นในการใช้ข้อมูลส่วนชีวมิติ
  • เสริมสร้างความความมั่นคงในระบบสุขภาพของประเทศ
  • สร้างมาตรฐานการใช้งานลายม่านตาเพื่อพิสูจน์อัตลักษณ์ของประเทศ

วิจัยพัฒนาโดย
  • กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AINRG) 
  • งานยกระดับความพร้อมทางเทคโนโลยี (LTSS)

Keyword: Biometric Authentication System, รู้จำลายม่านตา